ตัวษรวิ่ง

Welcome to my Blogger >.<" ยินดีต้อนรับจ้า

วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ปัจจัยพื้นฐานแห่งการคิด



บทนำ

                                   
         พระบรมราโชวาท ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
      เกี่ยวกับการคิด ตอนหนึ่ง ความว่า



''การคิดนั้นอาจจะคิดได้หลายอย่าง
จะคิดให้วัฒนะ คือ คิดแล้วทำให้เจริญ งอกงามก็ได้
จะคิดให้หายนะ คือ คิดเเล้วทำให้พินาศฉิบหายก็ได้
การคิดให้เจริญ จึงต้องมีหลักอาศัย
หมายความว่า เมื่อคิดเรื่องใดสิ่งหนึ่ง
ต้องตั้งใจให้มั่นคงในความเป็นกลาง
ไม่ปล่อยให้อคติอย่างหนึ่งอย่างใด ครอบงำ
ให้มีแต่ความจริงใจ ตรงตามเหตุผล
ที่ถูกเเท้และเป็นธรรม''




       การคิด เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องด้วยชีวิตประจำวันทุกขณะแยกหออกจากกันไม่ได้ จนเสมือนเป็นสิ่งเดียวกัน นั่นเป็นสิ่งแสดงให็เห็นว่าไม่มีบุคคลใดใช้ชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องคิด ซึ่งการคิดนั้นเป็นกลไกอัตโนมัติของมนุษย์ ที่มีสมองซับซ้อนและมีความพิเศษเหนือสิ่งมีชีวิตอื่นนี้ นั่นคือความสามารถทางการคิด
      เนื้อหาในบทนี้ กล่าวถึงความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการคิด ทั้งหลักการและเหตุผล องค์ประกอบของสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการคิด เช่น ค่านิยม การเลียนแบบ ประเพณีความเชื่อ  อุปนิสัยคนไทย อคติ กระแสโลกเทคโนโลยี เป็นต้น
       ปัจจุบันเป็นยุค  “ความรู้ คือ อำนาจ”  ซึ่ง  ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ขยายความว่า  เป็นยุคที่ผู้สามารถใช้ข้อมลูข่าวสารต่างๆ ให้เกิดอำนาจได้นั้น จำเป็นต้องมีความสามารถในการใช้ปรับข้อมูลข่าวสารให้อยู่ในขององค์ความรู้และนำมาใช้ประกอบการดำเนินชีวิตด้านต่างๆได้  อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งผู้ที่จะเป็นเช่นนั้นต้องมีคุณสมบัติประการหนึ่งในชีวิต นั่นคือ “คิดเป็น”





ค่านิยม

 




ภาพที่ 1.1 ค่านิยมต่อต้านคอรัปชั่น
ที่มา: dialynews,co.th




 


        ค่านิยม  (Value)  เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่ง ที่มีอิทธิพลต่อการคิดของบุคคลโดยเฉพาะค่านิยมทางสังคม  ซึ่งเป็นแบบแผนกำหนดวิถีชีวิตของบุคคล  ให้มีครรลองเป็นไปตามลักษะสังคมนั้น  ค่านิยมจึงส่งผลต่อการดำเนินชีวิตบุคคลตามกติกาสังคม  ดังสำนวนสุภาษิตไทยที่ว่า เข้าเมือง ตาหลิ่ว  ต้องหลิ่วตาตาม
        ค่านิยมทางสังคมไทยแบบ “ไม่ต้องคิด” เพราะสังคมไทยเป็นสังคมเผด็จการทางความคิด  กล่าวคือ ไม่เปิดโอกาศให้คนคิดแต่งต่าง  แต่เน้นการเชื่อฟังมากกว่าการมีอิสรภาพทางความคิด  ตั้งแต่ระบบครอบครัวที่เน้นการเชื่อฟังเป็นหลัก  โดยพ่อแม่เป็นผู้ออกคำสั่ง  โดยเด็กที่อยู่ในโอวาทและเชื่อฟัง จะได้รับการชมเชย ส่วนเด็กที่ชอบคิดและใช้เหตุผลแต่กต่างจากผู้ใหญ่ จะถูกมองว่า เป็นเด็กชอบเถียง เห็นได้จากภาษิตและคำพังเพย เช่น เดิมตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด  อาบน้ำร้อนมาก่อน เป็นต้น
       ค่านิยมทางการศึกษาไทยแบบ “ไม่ต้องคิด”  เพราะระบบการศึกษาของไทยไม่สอนให้คนคิดเป็น ทำเป็นและประยุกต์ใช้เป็น แต่สอนให้จำและใช้วิธีการประเมินผล คือ คนทีท่องจำได้มากเป็นคนเก่ง  คนที่เชื่อฟังครูไม่ซักถามและไม่โต้แย้ง  คือนักเรียนที่ดี  แต่ถ้าเด็กคิดมาก  ทั้งคิดสร้างสรรค์  คิดวิเคราะห์ หรือคิดวิพากษ์  และมีการใช้เหตุผล จึงมักอยู่ในระบบการศึกษาไทยไม่ได้  เพราะถูกมองว่า เป็นเด็กก้าวร้าว ไม่เชื่อฟัง  สะท้อนปัญกหาการเรียนการสอน จึงไมได้ส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดเป็น เมื่อเติบโต จึงกลายเป็นสภาพคนส่วนใหญ่ที่มีลักษณะที่คิดไม่เป็น
        ค่านิยมการเมืองแบบ “ไม่ต้องคิด”  เพราะสังคมไทยอยู่ในระบบการรวมศุนย์อำนาจ  กล่าวคือ  ใช้วิธีการบริหารแบบ “บนลงล่าง”  ทำให้ไม่ต้องคิด  โดยเฉพาะมีคนนำสิ่งของมาให้ มีการช่วยเหลือ สั่งการและยิ่งไปกว่านั้น การคิดมากเกินไป  อาจเป็นการทำร้ายตนเองได้โดยไม่รู้ตัว  บุคคลซึ่งคิดแตกต่างจากฝ่ายมีอำนาจปกครอง  จะได้รับการเพ่งมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ  จึงกล่าวได้ว่า ค่านิยมที่ไม่ส่งเสริมการคิดย่อมไม่ตอบสนองการพัฒนาบุคคและชาติ
         จะเห็นได้ว่า ค่านิยม ซึ่งอยู่ในลักษณะค่านิยมที่ไม่พึงประสงค์  เป็นปัจจัยที่ไม่ส่งเสริมการคิด ส่งผลกระทบต่อความสามารถทางการคิดของบุคคล  ส่งผลให้ประเทศชาติ เสียโอกาสจากต้นทุนความคิดอันมีค่า




การเลียนแบบ


       
   

ภาพที่ 1.2 การเลียนแบบชาติตะวันตก

ที่มา:  highlight.kapook.com










        การเลียนแบบเป็นปัจจัยหนึ่ง  ที่สะท้อนความด้อยคุณภาพทางการคิด  เพราะแสดงให้เห็นว่า ผู้เลียนแบบไม่มีความสามารถสร้างสรรค์หรอผลิตความคิดแปลกใหม่ ทั้งนี้ การเลียนแบบอาจเป็นผลพวงจากการรับเอาค่านิยมต่างชาติ  โดยปราศจากการลั่นกรอง มาปรับใช้ให้เหมาะกับสังคมไทย  ดังนั้นการเลียบแบบจึงส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อบุคคล
         ตัวอย่างการเลียนแบบ  กรณีหญิงสาวเปลือยอกวาดภาพในรายการไทยแลนด์ก๊อตทาเล้นท์ ปี 2555 ซึ่งกลายเป็นกระแสแห่งการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักหน่วง จากผู้ชมทั่วประเทศและผู้รู้ทางงานศิลป์ ที่ระบุว่า การเปลือกอกวาดภาพ ดังกล่าวเป็นการเลียนแบบแค่เปลือยอกของการแสดงศิลปะแบบชาติตะวันตก  ซึ่งมิใช่แก่นแท้ของการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะแต่อย่างใด
         กล่าวได้ว่า  การเลียนแบบ  เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการคิดของบุคคล  ซึ่งมิได้ก่อให้เกิดการคิดพัฒนาหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่มาใช้เป็นประโยชน์  และการเลียนแบบ ยังเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นว่า บุคคลนั้นขาดความสามารถทางความคิดอันเป็นผลผลิตของกระบวนการทางปัญญา

     


ประเพณีและความเชื่อ


     ประเพณีและความเชื่อ  เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการคิดของบุคคล  เพราะเป็นสิ่งที่เนื่องด้วยวิถีชีวิตประจำวันของบุคคล
     ประเพณี  เป็นสิ่งที่ได้สืบทอดกันมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน ซึ่งมีความเชื่อเป็นรากฐาน  ส่วนความเชื่อนั้น คือความคิดเห็นหรือทิศทางความเห็นที่กลุ่มบุคคลมีอยู่และเป็นไปในทางเดียวกัน สอดคล้องความสัมพันธ์กันและมีอิทธพลต่อการคิด
     สังคมไทยได้รับอิทธิพลจากประเพณีและความเชื่อหลายๆอย่าง โดยเฉพาะรูปแบบของความเชื่อที่ได้ถ่ายทอดมาแต่อดีต  จึงเห็นได้ว่า คนไทยกับความเชื่อเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้  ทั้งในรูปแบบความเชื่อในสิ่งลึกลับ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ความฝันหรือแม้แต่เหตุการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวัน  ประเพณีความเชื่อต่างๆมีอิทธิพลต่อการคิดของคนไทย  เช่น  “วันห้ามต่างๆของไทย”  ว่า

                      ห้ามขึ้นบ้านใหม่วันเสาร์
                                                ห้ามเผาผีวันศุกร์
                                                                 ห้ามโกนจุกวันอังคาร
                                                                                        ห้ามแต่งงานวันพุธ
                                                                                                                  วันพุธห้ามตัด
                                                                                                                                 วันพฤหัสห้ามถอน

คำอธิบายเกี่ยวกันความเชื่อเรื่อง  “วันห้ามต่างๆ ของไทย ซึ่งเป็นความเชื่อ  ว่า
              ห้ามขึ้นบ้านใหม่วันเสาร์  เพราะเชื่อว่าวันเสาร์เป็นวันแรง  ถ้าขึ้นบ้านใหม่ในวันนี้แล้ว  จะทำให้ชีวิตครอบครัวอยู่กันอย่างไม่ปกติสุข
              ห้ามเผาผีวันศุกร์  เพราะเชื่อว่า  วันศุกร์เป็นวันแห่งโชคลาภและความรื่นเริง หากเกินการเผาผีในวันนั้น  จะก่อให้เกิดเรื่องร้ายขึ้น ดังคำกล่าวที่ว่า “เผาผีวันศุกร์ ให้ทุกข์แก่คนยังมีชีวิต ”
             ห้ามโกนจุกวันอังคาร  เพราะเชื่อว่าวันอังคารเป็นสันแข็ง หากโกนจุกในวันนี้แล้วอาจเกิดเรื่องร้านแรง  อาทิ อุบัติเหตุขึ้นกับผู้ถูกโกนจุกได้  เป็นต้น
            ห้ามแต่งงานวันพุธ  เพราะเชื่อกันว่า วันพุธเป็นวันที่ไม่มีความมั่นคง  หากแต่งงานในวันพุธแล้ว จะทำให้ชีวิตแต่งงานมีแต่อุปสรรค์
            วันพุธห้ามตัด  เพราะเชื่อกันว่า วันพุธเป็นวันแห่งความเจริญงอกงาม จึงห้ามตัดสิ่งต่างๆ เช่น การตัดดอกไม้ รวมทั้งร้านตัดผม นิยมให้หยุดบริการในวันพุธ เป็นต้น
           วันพฤหัสห้ามถอน  เพราะเชื่อกันว่า วันพฤหัสเป็นวันแห่งความมั่นคั่ง  ดังนั้น การถอดถอนต้นไม้ เสาเรือนหรือถอดถอนสิ่งสำคัญต่างๆ
           อย่างไรก็ตามความเชื่อ เรื่องวันห้ามต่างๆของไทยทั้ง 7 วัน  มีการห้ามไว้ 6 วัน  แต่ยกเว้นวันอาทิตย์ไว้ จึงกล่าวได้ว่าความเชื่อและประเพณีเหล่านี้  มีผลถ้าทายต่อการคิดและหาเหตุผลมาอธิบายปรากฏการณ์เหล่านี้ต่อไป  ”











ภาพที่ 1.3 ความเชื่อเรื่องแมวดำ
ที่มา: creditonhand.com










อีกอย่างหนึ่ง ของความเชื่อของคนไทยเกี่ยวข้องกับสิ่งอวมงคล  เช่น  การไม่ปลูกตันไม้อวมงคลในบริเวณบ้าน  การเลี้ยงแมวดำและการถือตัวเลขอัปมงคล เป็นต้น  ซึ่งความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งอวมงคลนี้ มีอิทธิพลต่อการคิดและการดำเนินชีวิตของคนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
          กล่าวได้ว่า  ประเพณีและความเชื่อ มีอิทธิพลต่อการคิดของบุคคล แม้ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าความเชื่อเหล่านี้  มีความเกี่ยวข้องกับคนไทยมาแต่เมื่อใด  และมิอาจใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์ไขความสงสัยได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าประเพณีและความเชื่อ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิต่อการคิด อย่างน้อยความเชื่อที่ถือตามกันมา ไม่ทำให้คนต้องคิดเพื่อหาคำตอบในสิ่งที่สงสัย



วิชีวิตแบบไทย

คนไทย....มี....กายกรรม เป็นพราหมณ์ วจี  เป็นพุทธ พฤติกรรม เป็นผี







ภาพที่ 1.4 วิถีชีวิตไทยกับความเชื่อเรื่องกล้วย
ที่มา: www.bloggang.com










             คนไทย  มีกายกรรม  เป็นพราหมณ์  กล่าวคือคนไทยมีพฤติกรรมตามความเชื่อแบบการทำพิธีกรรม ของพราหมณ์และศาสนาพราหมณ์
            คนไทย มีวจีกรรมเป็นแบบพุทธ  กล่าวคือคนไทนมีมีพฤติกรรมการพูดและอ้างอิงหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นหลักการที่ดีงาม
           คนไทย มีพฤติกรรม เป็นเป็นผี  กล่าวคือ คนไทยจะกระทำสิ่งใด ปราศจากการใคร่ครวญอย่างเหมาะสมและไม่ได้ตั้งอยู่ในหลักควาวมเป็นจริง  ซึ่งคนไทยมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องผีสาง และสิ่งที่มองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า
  กล่าวได้ว่า  คนไทย มีความสับสนในวิถีการดำเนินชีวิต  เพราไม่แน่ใจว่าวิถีชีวิตแบบใด  จะใช้เป็นครรลองของสังคมไทย  อันบ่งบอกถึงวิถีชีวิตแห่งไทย




นิสัยของคนไทย

          อุปนิสัย เป็นสิ่งที่สั่งสมมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมแห่งการปลูกฝังและอบรมเลี้ยงดูตั้งแต่เล็ก จนใหญ่  รมทั้งกระบวนการทางสังคม ย่อมมีส่วนขัดเกลาบุคคลให้มิอุปนิสัยด้วย
        วิรัช  วิรัชนิภาวรรณ  ได้วิจัยวิเคราะห์ลักษณะนิสัยของคนไทย  พบว่าอุปนิสัยที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศและการคิดของคนไทย มี 30 ประการ ดังนี้
        ประการที่   1.  คนไทยเชื่อเรื่องเวณกรรม
        ประการที่   2.  คนไทยถ่อมตนและยอมรับระบบชนชั้น
        ประการที่   3.  คนไทยยึดถือระบบอุปถัมภ์
        ประการที่   4.  คนไทยไม่ยอมรับคนอายุเท่ากันหรือต่ำกว่า
        ประการที่   5.  คนไทยติดนิสัยพึ่งพาคนอื่น
        ประการที่   6.  คนไทยไม่รู้จักพอปราะมาณ
        ประการที่   7.  คนไทยรักเสรีทำอะไรตามใจชอบ
        ประการที่   8.  คนไทยไม่ชอบค้าขาย
        ประการที่   9.  คนไทยชอบเอาตัวรอดและโยนความผิดให้ผู้อื่น
        ประการที่   10.  คนไทยไม่ชอบรวมหกลุ่มและขาดความร่วมมือ
        ประการที่   11.  คนไทยขาดการวางแผน
        ประการที่   12.  คนไทยชอบการพนันเหล้าและความบันเทิง
        ประการที่   13.  คนไทยมีนิสัยเกียจคร้าน
        ประการที่   14.  คนไทยไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง
        ประการที่   15.  คนไทยเห็นแต่ตัวและคิดเอาแต่ได้
        ประการที่   16.  คนไทยมีนิสัยลืมง่าย
        ประการที่   17.  คนไทยชอบสิทธิพิเศษ
        ประการที่   18.  คนไทยมีนิสัยฟุ่มเฟื่อย
        ประการที่   19.  คนไทยไม่รู้แพ้ รู้ชนะ
        ประการที่   20.  คนไทยไม่ยกย่องผู้หญิง
        ประการที่   21.  คนไทยมีจิตใจคับแคบ
        ประการที่   22.  คนไทยชอบสร้างอิทธิพล
        ประการที่   23.  คนไทยมักประณีประนอม
        ประการที่   24.  คนไทยไม่ตรงต่อเวลา
        ประการที่   25.  คนไทยไม่รักสาธารณสมบัติ
        ประการที่   26.  คนไทยชอบพูดมากกว่าทำ
        ประการที่   27.  คนไทยยกย่องวัตถุ
        ประการที่   28.  คนไทยชอบของฟรี
        ประการที่   29.  คนไทยสอดรู้สอดเห็น
        ประการที่   30.  คนไทยขาดจิตสำนึกและอุดมการณ์เพื่อประเทศชาติ

        กล่าวได้ว่า  อุปนิสัยของคนไทย  เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคิดของคนไทย  รวมทั้งอุปนิสัยคนไทยด้านลบเหล่านี้ กลายเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ




อคติ

       
   ความลำเอียง  คือ  อคติ  ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคิด  โดยเป็นปัจจัยภายในบุคคล  อันเกิดขึ้นได้จากความรู้สึก  4  ประการ ได้แก่
                              ลำเอียง  เพราะความรักและความพึงพอใจ
                                                        ลำเอียง  เพราะความโกรธและเกลียดชัง
                                                                             ลำเอียง  เพราะความลุ่มหลงงมงาย
                                                                                                           ลำเอียง  เพราะความกลัว

                กล่าวได้ว่าความลำเอียง  เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการคิดของบุคคล  ดังนั้นการแก้ไขความลำเอียงที่มี  ควรทำใจเป็นกลาง มีสติปัญญาควบคุสอารมณ์ไม่ให้ครอบงำความคิด  ซึ่งจะส่งผลให้แสดงเกิดพฤติกรรมต่างๆของบุคคลทั้งทางบวกและทางลบ




กระแสเทคโนโลยี





ภาพที่ 1.5 เทคโนโลยีกับคนรุ่นใหม่
ที่มา: www. thaiza.com
     







            เทคโนโลยีและสื่ออิเล็กทรอนิกส์  เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคิดของบุคคลโดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน  ซึ่งเป็นยุคสมัยเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า  มีค่านิยมบูชาความเร็วและส่งเสริมการแข่งขันทางเศรษฐกิจสูงขึ้น
             การยอมรับและปรับตัว  เพื่อร่วมอยู่มในกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกนั้น  ย่อมเป็นพฤติกรรมธรรมชาติของมนุษย์ในสังคม  อย่างไรดี  การรู้จักใช้เทคโนโลยีอย่างมีความสามารถในการคิด  และรู้เท่าทัน  ย่อมเป็นสิ่งควบคุมพฤติกรรมการเสพติดเทคโนโลยี
           กล่าวได้ว่า  เทคโนโลยี มีอิทธิพลต่อชีวิตและการคิดของบุคคล  ซึ่งการใช้เทคโนโลยี  ความประกอบด้วยความระมัดระวังมากที่สุด  โดยความไม่หลงลืมตนใช้ไปอย่างไร้สติ  เพราะการมีชีวิตอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงต่างจากชีวิตในโลกเสมือนจริงทางเทคโนโลยี  ดังนั้นควรมีช่องว่งและความพอดี  อย่าปล่อยให้กระแสเทคโนโลยีครอบงำนำพาชีวิต  เพราะประโยชน์สูงสุดของเทคโนโลยีนั้น เป็ฯเพียงเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกและช่วยลดข้อจำกัดของการสื่อสารถึงกัน





สิ่งแวดล้อมทางพันธุกรรม


       
    สิ่งแวดล้อมทางพันธุกรรม  เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคิดของบุคคล  อย่างแนบเนื่อง  เพราะสองประการนี้เป็นปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในสำคัญ
                 สิ่งแวดล้อม  เป็นสภาพภายนอกของบุคคล  เป็นภาวะทางสังคมและปัจจัยแวดล้อมภายนอก ที่ไม่สามารถควบคุมได้โดยบุคคล  เส้นสภาพอากาศ  สภาพสังคม  สภาพเศรษฐกิจ เป็นต้น
                 พันธุกรรม เป็นการถ่ายทอดลักษณะทางกายภาพและอุปนิสัย จากบุคคลรุ่นก่อนสู่บุคคลรุ่นใหม่ โดยสายโลหิต ซึ่งเป็นปัจจัยภายในที่ม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ เช่น หมู่เลือด ลักษณะหน้าตาจากพ่อแม่ เป็นต้น
                  กล่าวได้ว่า สิ่งแวดล้อมและพันธุกรรม เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการคิดของบุคคล ซึ่งมีลักษณะทั้งควบคุมได้และควบคุมไม่ได้




บทสรุป

              ปัจจัยแห่งการคิด เป็นเหตุที่ส่งผลต่อการคิดของบุคคล ซึ่งจะต้องเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจและก้าวข้ามปัจจัยที่มีผลกระทบทางลบต่อการคิด ซึ่งปัจจัยที่สำคัญประกอบด้วยความนิยม การลอกเลียนแบบ ประเพณีความเชื่อ วิถีชีวิตคนไทย กระแสเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อมและพันธุกรรม
                  การคิดให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผู้คิดควรตระหนักถึงปัจจัยแห่งการคิด รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ อันส่งผผลต่อการคิดที่คลาดเคลื่อนจากความต้องการและความเป็นจริง ดังนั้นการคิดในแต่ละครั้ง จึงควรคำนึงถึงปัจจัยแห่งการคิดด้วย







1 ความคิดเห็น: