ตัวษรวิ่ง

Welcome to my Blogger >.<" ยินดีต้อนรับจ้า

วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

วิธีการและเทคนิคการคิด


บทนำ

        การคิดจัดได้ว่าเป็นศาสตร์และศิลป์  ที่สามารถฝึกฝนและเรียนรู้ได้ โดยเฉพาะวิธีการจัดการและเทคนิคการคิด  ซึ่งเนื้อหาในบทนี้ จะกล่าวถึงวิธีการเเละวิธีการคิดหลากหลาย  เพื่อพัฒนาศักยาภาพความคิด

วิธีการคิดแบบญี่ปุ่น: ไคเซ็น (KAIZEN)

                ศิลปะการคิดแบบญี่ปุ่น  เป็นเทคนิคการพัฒนางานแบบไคเซ็น (KAIZEN) ซึ่งไคเซ็น แปลว่า การปรับปรุง (Improvement) หรือทำให้ดีขึ้น เป็นแนวคิดที่นำมาใช้ในการบริหารการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพผลโดยมุ่งเน้นที่การมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติงานร่วมกันแสวงหาแนวทางใหม่ๆ  เพื่อปรับปรุงวิธีการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
               หัวใจสำคัญของไคเซ็นอยู่ที่ "ต้องมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด" (Continuous Improvement) ซึ่งกล่าวเป็นปรัชญาเชิงการคิดแบบไคเซ็น ได้ว่า

ไคเซ็น = การทำให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีที่สิ้นสุด


              ไคเซ็น (KAIZEN) เป็นเเนวคิดที่ช่วยรักษามาตรฐานที่มีอยู่เดิม (Maintain) และปรับปรุงมาตรฐานให้ดียิ่งขึ้น (Improvrmant) หากเเนวคิดนี้แล้ว มาตรฐานที่มีอยู่เดิมก็จะลดลง

              ความสำคัญในกระบวนการของไคเซ็น (KAIZAN) คือ การใช้ความรู้และความสามารถของผู้ปฏิบัติงานมาคิดปรับปรุง โดยใช้การลงทุนเพียงเล็กน้อยซึ่งก็ให้เกิดการปรับปรุงงานทีละน้อย ซึ่งค่อยเพิ่มพูนขึ้นต่อเนื่อง  ดังนั้นไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะรูปแบบใดสามารถใช้วิธีการไคเซ็น (KAIZAN) ได้ต่อเนื่อง

              พื้นฐานสำคัญ 5 ประการของไคเซ็น
              1) การทำงานเป็นทีม  (Team work)
              2) วินัยบุคคล (Personal Discipline)
              3) ความปกติในการพัฒนา (Improved morald)
              4) วัฏจักรคุณภาพ (QUality circles)
              5) ข้อเสนอเเนะเพื่อการพัฒนา (Suggestions for improvement)

              นอกจากนี้ ไคเซ็น มี 3 สิ่งสำคัญที่จำเป็นที่เกิดเป็นผลจากการกระทำไคเซ็น ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของการคิดอันสืบเนื่องจากไคเซ็น ได้แก่
             1) การลดความสูญเสีย (Elimination  of waste)  และการรวมตัวกันอย่างมีประสิทธิภาพ
             2) ความเป็นระเบียบเรียบร้อย หรือ 5ส (The Kaizen five)
             3) มาตรฐาน (Standardization)


                                                        ภาพที่ 1 การเคลื่อนย้ายสิ่งของแบบไคเซ็น
                                       ทีมา: blogger.com


                จะเห็นได้ว่า ไคเซ็น เป็นวิธีการคิด เพื่ิิือปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นพฤติกรรมการคิด โดยต้องการให้มีการลก เลิกเปลี่ยน เพื่อแก้ไขปัญหา ความสูญเสียและความสิ้นเปลืองที่ไม่จำเป็น ทั้งยังช่วยรักษามาตรฐานและสร้างนิสัยที่ดี เพื่อพัฒนาบุคคลให้เกิดการคิดเเละพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

เทคนิคหมวก 6 ใบ


                                          ภาพที่ 2  หมวก 6 ใบ เพื่อการคิด
                                          ที่มา: trueplookpanya.com

                  แนวคิดของ ดร. เอ็ดเวิร์ด เดอ โบ โน (Dr. Edward de Bono)  เจ้าของความคิดแบบคู่ขนาน (parallel thinking) โดยยึดหลักการว่า อย่าเอาความเห็นที่ขัดเเย้งมาปะทะกัน  ให้วางเรียงขนานกันไว้แล้วประเมินผลได้เสียอย่างเป็นระบบ
                 เทคนิคหมวก 6 ใบ  ในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ในการคิด คือช่วยกำหนดบทบาทของผู้สวมหมวก ซึ่งหมวกทั้ง 6 ใบ 6 สี จะเกี่ยวเนื่องกับการคิดแต่ละทิศทาง ได้แก่ สีขาว สีแดง สีดำ สีเหลือง สีเขียว และสีฟ้า
                หมวก 6 ใบ 6 สี ต่างกัน โดยสีคือชื่อของหมวกแต่ละใบนั้น ยังทำหน้าที่สื่อความสัมพันธืกับการทำงานทางความคิด ได้แก่
                สีขาว  เป็นข้อมูล          แสดงความเป็นกลางเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงและตัวเลข
                สีแดง  เป็นความรู้สึก    แสดงถึงอารมณ์ต่างๆ
                สีดำ  เป็นข้อควรระวัง   แสดงถึงคำเตือน ซึ่งเป็นจุดอ่อนของความคิด
                สีเหลือง  เป็นความรู้สึกในทางที่ดี  แสดงถึงการมองบวกและความคาดหวัง
                สีเขียว   เป็นความคิดริเริ่ม  แสดงถึงความคิดแปลกใหม่  สร้างสรรค์
                สีฟ้า   เป็นการจักระบบการคิด แสดงถึงการควบคุมการคิด

                กล่าวได้ว่า เทคนิคการคิด หมวก 6 ใบ เพื่อการคิด เป็นเทคนิคใช้สัญลักษณ์เพื่อสื่อความคิดแบบคู่ขนาน  เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการคิดอย่างมีทิศทาง


การคิด 10 มิติ

              ดร.เกียงศักดิ์ เจริญวงค์ศักดิ์  กล่าวถึงการคิด 10 มิติ ว่า การคิด 10 มิติ จะช่วยให้ประสบความสำเร็จ  และยากที่จะผิดพลาดในการตัดสินใจ  เพื่อทำสิ่งใดๆ เพราะการคิดแบบรอบด้าน จะช่วยให้ไม่ทหลงเชื่อสิ่งได้อย่างง่าย แต่จะเกิดการคิดไตร่ตรองอย่างละเอียดรอบคอบ ก่อนตัดสินใจ สามารถแก้ผัญหาที่เกิดขึ้น ด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์ และสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีกลยุทธ์ ทั้งสามารถเตรียมความพร้อมให้กับอนาคต  ซึ่งการคิด 10 มิติ สรุปลักษณะสำคัญไว้ดังนี้

มิติที่ 1 การคิดเชิงวิเคราห๋ (Analytical Thinking)
                การคิดเชิงวิเคราะห์ เป็นการจำแนกแจกแจงองค์ประกอบต่างๆ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้น
มิติที่ 2 การคิดเชิงวิพากย์ (Critical Thinking)
                 การคิดเชิงวิพากย์ เป็นการพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยความตั้งใจ  โดยการไม่เห็นคล้อยตามข้อเสนออย่างง่ายๆ แต่จะมีการตั้งการคำถามท้าทายหรือโต้แย้งสมมติฐาน และข้อสมมติที่อยู่เบี้องหลัง และพยายามเปิดแนวทางความคิดออกนอกลู่ทางต่างๆ  ที่แตกต่างจากข้อเสนอนนั้นเพื่อให้สามารถได้คำถามที่สมเหตุสมผลมากข้อเสนอกว่าเดิม
มิติที่ 3 การคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthesis-Type Thinking)
                 การคิดเชิงเคราะห์ เป็นความสามารถในการดึงองค์ประกอบต่างๆมาผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้สิ่งใหม่ ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
มิติที่ 4 การคิดเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Thinking)
                 การคิดเชิงเปรียบเทียบ เป็นการพิจารณาเทียบเคียงความเหมือน และ/หรือความแตกต่างระหว่างสิ่งนั้น กับสิ่งอื่นๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ให้สามารถอธิบายเรื่องนั้นได้อย่างชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการคิดแก้ปัญหา หรือการหาทางเลือกเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
มิติที่ 5 การคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking)
                 การคิดเชิงมโนทัศน์ เป็นความสามารถในการประสานข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่เกี่ยวกับเรื่องหนึ่งเรื่องใดได้อย่างไม่ขัดแย้ง แล้วนำมาสร้างเป็นความคิดรวบยอดหรือกรอบความคิดเกียวกับเรื่องนั้น
มิติที่ 6 การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
                 การคิดเชิงสร้างสรรค์ เป็นการขยายขอบเขตความคิดเดิมออกไป  จากกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่ สู่การสร้างความคิดใหม่ๆที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อค้นหาคำตอบที่ดีที่สุด ให้กับปัญหาที่เกิดขึ้นหรือสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่
มิติที่ 7 การคิดเชิงประยุกต์ (Applicative Thinking)
                 การคิดเชิงประยุกต์ เป็นความสามารถในการนำเอาสิ่งที่มีอยู่เดิม ไปปรับใช้ประโยชน์ในบริบทใหม่ ได้อย่างเหมาะสม โดยยังคงหลักการของสิ่งเดิมไว้
มิติที่ 8 การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)
                การคิดเชิงกลยุทธ์ เป็นความสามารถในการกำหนดแนวทางที่ดีที่สุด ภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆที่เกี่ยวข้อง เข้าหาแกนหลักได้อย่างเหมาะสม เพื่ออธิบายหรือให้เหตุผลสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
มิติที่ 9 การคิดเชองบรูณาการ (Integrative Thinking)
                การเชิงบรูณาการ เป็นความสามารถในการเชื่อมโยงแนวคิด หรือองค์ประกอบต่างๆที่เกี่ยวข้อง เข้าหาแกนหลักได้อย่างเหมาะสม เพื่ออธิบายหรือให้เหตุผลสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
มิติที่ 10 การคิดเชิงอนาคต (Futuristic Thinking)
                  การคิดเชิงอนาคต เป็นความสามารถในการคาดการณ์สิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต อย่างมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม

                นอกจากการคิด 10 มิติเเล้ว มีมิติการคิดแก้ปัญหา (Problem Solving Thinking) และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) เป็นมิติการคิดที่ควรพัฒนาการคิดของบุคคลไว้ ซึ่งนักวิชาการ ได้สรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับวิธีการคิด และจำแนกกลุ่มของการคิดและกระบวนการคิด ไว้ดังนี้

ตารางการจำแนกกลุ่มของกระบวนการคิด

กลุ่มที่
ชื่อกลุ่มกระบวนการคิด
ชื่อกระบวนการคิด
1
การคิดพื้นฐาน
การคิดวิเคราะห์และการคิดเปรียบเทียบ
2
การคิดอย่างมีเหตุผล
การคิดวิพากษ์ การคิดวิจารณญาณและการคิดแก้ปัญหา
3
การคิดสร้างสรรค์
การคิดสังเคราะห์ การคิดประยุกต์ และการคิดสร้างสรรค์
4
การคิดองค์รวม
การคิดเชิงมโนทัศน์ และการคิดเชิงบูรณาการ
5
การคิดสู่ความสำเร็จ
การคิดอนาคต และการคิดเชิงกลยุทธ์

                กล่าวได้ว่า กลุ่มกระบวนการคิดประกอบด้วยการคิดพื้นฐานการคิดอย่างมีเหตุผล การคิดสร้างสรรค์ การคิดองค์รวมและการคิดสู่ความสำเร็จ ซึ่งการแบ่งกระบวนการคิดเป็นกลุ่ม ตามลักษณะและความสัมพันธ์ของการคิด

กลุ่มที่ 1การคิดพื้นฐาน

การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking)
          การคิดเชิงวิเคราะห์ เป็นการจำนแนกแจกแจงองค์ประกอบต่างๆ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือกาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้นเพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้น รวมทั้งการคิดวิเคราะห์หลักการ

         องค์ประกอบของการคิดเชิงวิเคราะห์
         1) สิ่งที่จะวิเคราะห์ เช่น วัตถุ สิ่งขิงเรื่องราวหรือเหตุการณ์
         2) หลักการหรือกฏเกณฑ์ที่เป็นข้อกำหนดสำหรับใช้วิเคราะห์
         3) การค้นความจริง

         คุณสมบัติที่เอื้อต่อการคิดวิเคราะห์
         1) ความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะวิเคราะห์
         2) มีความช่างสังเกต ช่างสงสัย และช่างซักถาม
         3) มีความสามารถในการตีความ
         4) มีความสามาารถในการหาความสัมพัธ์เชิงเหตุผล

         ลักษณะการคิดวิเคราะห์
         1) การวิเคราะห์ส่วนประกอบ/เนื้อหา
         2) การวิเคาระห์ความสัมพันธ์
         3) การวิเคาระห์หลักการ

         กระบวนการคิดวิเคราะห์
         ขั้นที่ 1 กำหนดสิ่งที่ต้องการคิดเคราะห์
         ขั้นที่ 2 กำหนดปัญหา
         ขั้นที่ 3 พิจารณาและเเยกแยะ
         ขั้นที่ 4 สรุป

         ประโยชน์ในการคิดวิเคราะห์
         1) ช่วยให้รู้ข้อเท็จจริง
         2) ช่วยให้ไม่ด่วนสรุปสิ่งใดง่ายๆ
         3) ช่วยในการพิจารณาสาระสำคัญอื่น
         4) ช่วยพัฒนานิสัยช่างสังเกต
         5) ช่่วยให้หาเหตุผลที่สมเหตุสมผล
         6) ช่วยประมาณการความน่าจะเป็น

     
การคิดเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Thinking)
        การคิดเชิงเปียบเทียบ เป็นการพิจารณาเทียบเคียงความเหมือนและ/หรือความแตกต่างระหว่างสิ่งนี้นกับสิ่งอื่น เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ให้สามารถอธิบายเรื่อนั้นได้อย่างชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการคิดแก้ปัญหาหรือการหาทางเลือกเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

                                                     ภาพที่ 3 เปรียบเทียบ ขาว-ดำ
                                                     ที่มา: flashfly.net

                ลักษณะการเปรียบเทียบ เป็นลักษณะการเทียบเคียงแลการเปรียบเปรย
             
               หลักการคิดเปรียบเทียบ
               1) หลักการเทียบเคียง
               2) หลักการจำแนกแจกแจงตามเกณฑ์
               3) หลักการคิดยืดหยุ่น

               กระบวนการคิดเปรียบเทียบ
               1) กำหนดสิ่งที่จะนำมาเปรียบเทียบ
               2) กำหนดวัตถุประสงค์ของการคิดเปรียบเทียบ
               3) กำหนดเกณฑ์ที่จะใช้ในการคิดเปรียบเทียบ
               4) จำแนกแจงองค์ประกอบตามเกณฑ์
               5) ประเมิ้นการคิดเปรียบเทียบ
               6) นำผลการคิดเปรียบเทียบไปใช้ตามความต้องการ

              ประโยชน์ของการคิดเปรียบเทียบ
              1) ช่วยฝึกนิสัยช่างสังเกต
              2) ช่วยฝึกความมีเหตุผล
              3) ช่วยฝึกให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
              4) ช่วยฝึกให้มีความคิดเฉียบเเหลม
              5) ช่วยให้มองเห็นและเกิดความเข้าใจในสิ่งที่คิดได้รวดเร็วขึ้น
              6) ช่วยให้การสื่อสารชัดเจนเเละรวดเร็ว
              7) ช่วยให้เกิดความมั่นใจในการตัดสินใจ
   
               กล่าวได้ว่า การคิดเชิงเปรียบเทียบ ก่อให้เกิดความเข้าใจในความเหมือนและความแตกต่าง ระหว่างสิ่งที่ต้องการเลือก เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการแลตรงกับวัตถุประสงค์ของการคิดมากที่สุด


กลุ่มที่ 2 การคิดอย่างมีเหตุผล

การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking)
              การคิดเชิงวิพากษ์ เป็นการพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยความตั้งใจโดยการไม่เห็นคล้อยการไม่เห็นคล้อยตามข้อเสนออย่างง่ายๆ แต่จะมีการตั้งคำถามท้าทายหรือโต้แย้งสมมุติฐษนและข้อสมมติที่อยู่เบี้องหลัง และพยายามเปิดแนวทางความคิด ออกสู่ท่าทางต่างๆ ที่แตกต่างจากข้อเสนอนั้น เพื่อให้สามารถได้คำตอบที่สมเหตุสมผลากกว่าข้อเสนอเดิม

             การคิดวิพากษ์เกิดขึ้น
             1) เผชิญสถานการณ์แปลก ที่ไม่คาดคิด
             2) พบปัญหาที่ยาก
             3) เกิดความสงสัยและไม่เชื่อหรือเกิดข้อโต้แย้งในเหตุผลหรือข้ออ้างนั้น
             4) ยอมรับการท้าทาย
             5) ต้องการตรวจสอบ/สืบค้นความจริง
             6) ต้องการพิจารณาความคิดหรือมุมอง

             กระบวนการคิดวิพากษ์
            1) เผชิญเหตุผล
            2) ประเมินสถานการณ์
            3) พิจารณาวินิจฉัย
            4) ตรวจสอบและประเมินข้อมูล
            5) พัฒนาแนวคิด/มุมมอง
            6) คิดใหม่และปฏิบัติใหม่

            ลักษณะของนักคิดวิพากษ์ 
                   
                             R รู้จักและปรเมิณตนเอง
                                        R ตรวจสอบและประเมินข้อมูลอย่างจริงจัง
                                                     R มีจิตรใจเป็นธรรม
                                                                R มุ่งมั่นต่อการตัดสินใจบนฐานข้อมูล

             ประโยชน์ของการคิดวิพากษ์
             1) ช่วยสืบค้นให้ได้ความจริง
             2) ช่วยให้เชื่อในสิ่งที่ถูกต้อง
             3) ช่วยให้เชื่ออย่างมีเหตุผล
             4) ช่วยให้คิดอย่างรอบคอบครบถ้วน
             5) ช่วยให้เกิดากรตัดสินใจตามข้อมูลความจริง
             6) ช่วยแก้นิสัยการด่วนสรุป
             7) เป็นจุดเริ่มต้นของการคิดสร้างสรรค์
             8) เป็นจุดเริ่มต้นของการคิดอย่างมีวิจารญาณ

              กล่าวได้ว่า การคิดเชิงวิพากษ์ ช่วยให้เกิดการสิบค้นหาข้อมูล เพื่อทราบสาเหตุแท้จริง และมีความเป็นกลางในการตัดสินใจสิ่งใดสิ่งหนึ่งี่เลือกกระทำ

การคิดเชิงวิจารณญาณ (Decretive Thinking)
              การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นการคิดที่เน้นกระบวนการพิจารณาญาณและประเมินข้อมูลหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่คิดทุกด้สนอย่างรอบคอบ โดยใช้หลักเหตุผลจนกระทั่งได้คำตอบที่เหมาะสมหรือดีที่สุด เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจประเมิน หรือแก้ปัญหาต่างๆ

การคิดแก้ปัญหา (Problem Solving Thinking)
             การคิดแก้ปัญหา เป็นความสามารถทางสมองที่จะคิดพิจารณษไตร่ตรอง อย่างพินิจพิเคราะห์ถึงสิ่งต่างๆ ที่เป็นปมประเด็นสำคัญที่ทำให้สภาวะความไม่สมดูลเกิดขึ้น โดดยพยายามหาหนทางคลี่คลายขจัดปัดเป่าประเด็นสำคัญเหล่านั้น ให้กลับเข้าสู่สภาวะสมดุล หรือสภาวะที่คาดหวัง

            กระบวนการคิดแก้ปัญหา 
            1) กำหนดปัญหา 
            2) ตั้งสมมุติฐาน
            3) วางแผนแก้ปัญหา
            4) เก็บรวบรวมข้อมูล
            5) วิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมุติฐาน
            6) สรุปผล

            คุณสมบัตอของนักคิดแกปัญหา


Rรู้จักคิดอย่างมีเหตุผล
   Rตั้งใจค้นหาความจริง 
       Rกระตือรือร้น 
           Rใฝ่รู้ใฝ่เรียน สนใจสิ่งรอบด้าน
               Rเปิดใจรับความคิดใหม่
           Rมีมนุษย์สัมพันธ์
       Rมีคุณลักษณะความเป็นผู้นำ
   Rกล้าหาญ กล้าเผชิญความจริง
Rมีความคิดหลากหลายและคิดยืดหยุ่น

             กล่าวได้ว่า การคิดแก้ปัญหา เป็นรูปแบบการสร้างสถานการณ์ทางการคิด โดยการกำหนดปัญหา สร้างความตระหนักและเห็นคุณค่าในปัญหา เพื่อสามารถแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด

กลุ่มที่ 3 การคิดสร้างสรรค์ 
             
การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Synthesis-Type Thinking)
            การคิดเชิงสร้างสรรค์ เป็นความสามารถในการดึงองค์ประกอบต่างๆ มาผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่ให้ได้สิ่งใหม่ ตรามวัตถุปะสงค์ที่ต้องการ
             ลักษณะของการคิดสังเคราะห์ เป็นการคิดเพื่อรวมเเละการสร้าง "สิ่งใหม่" และการคิดสังเคราะห์เพื่อการสร้าง"แนวคิดใหม่"
             ผลผลิตใหม่ จากการคิดสังเคราะห์มี 2 ลักษณะ ได้แก่การหลอมรวม การถักทอเป็นสิ่่งใหม่จนไม่สามารถเห็นส่วนประกอบย่อย อาทิ การผลิตยาเม็ด ยาน้ำชนิดต่างๆและสิ่งใหม่ที่ยังสามารถเห็นส่วนประกอบย่อย อาทิ แกงป่าไก่ ขนมรวมมิตร

             การคิดสังเคราะห์ เกิดขึ้น 
             1) ต้องการหาทางเลือกใหม่
             2) ต้องการทำสิ่งใหม่
             3) ต้องการหาข้อสรุปของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

             กระบวนการคิดสังเคราะห์เพื่อสร้าง "เเนวคิดใหม่" มี 9 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 กำหนดเรื่องหรือปัญหา
            ขั้นที่ 2 กำหนดวัตถุประสงค์
                        ขั้นที่ 3 กำหนดขอบเขต
                                    ขั้นที่ 4 กำหนดประเด็นและโครงร่าง
                                                ขั้นที่ 5 กำหนดแหล่งข้อมูล
                                                            ขั้นที่ 6 ศึกษาแนวคิด
                                                                         ขั้นที่ 7 เรียบเรียงแนวคิด
                                                                                     ขั้นที่ 8 ทอสอบโครงร่างใหม่ 
                                                                                                 ขั้นที่ 9 นำแนวคิดไปใช้ประโยชน์

             กล่าวได้ว่า การคิดเชิงสังเคราะห์ ที่เกิดขึ้น ก่อให้เกิดประโยชน์ในการสร้างสิ่งใหม่และเเนวคิดใหม่ ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้หรือต่อยอดความรู้ขึ้น สร้างเข้าใจที่ชัดเจนและครบถ้วน นำไปสู่การแก้ปัญหาที่ชัดเจนและนำไปสู่การคิดสร้างสรรค์

การคิดเชิงประยุกต์ (Applicative Thinking)
             การคิดเชิงประยุกต์ เป็นความสามารถในการนำเอาสิ่งที่มีอยู่เเดิม ไปปรับใช้ประโยชน์ในบริบทใหม่ ได้อย่างเหมาะสมโดยยังคงลักษณะของสิ่งเดิมไว้ได้
             
            ลักษณะของการประยุกต์ มีการนำ "ภาคทฤษฎี" สู่ "ภากปฏิบัติ" เป็นการนำ "ความรู้สาขาหนึ่งมาปรับใช้อีกสาขาหนึ่ง" เป็น "การปรับใช้" มิใช่ "การลอกเลียน" เพราะเป็นการนำ "บางส่วน" ของ "บางสิ่ง" มาใช้ แลพเป็นการนำสิ่งหนึ่งมาปรับใช้ใน "บทบาทหน้าที่ใหม่" เพื่อ "เป้าหมายใหม่"
         
            กระบวนการคิดประยุกต์
            1) กำหนดวัตถุประสงค์ของการประยุกต์
            2) ศึกษาแนวคิดหรือสิ่งของที่จะนำไปประยุกต์ใช้
            3) คัดเลือกแนวคิดหรือสิ่งของที่จะนำไปประยุกต์ใช้
            4) ปรับเปลี่ยนหรือประยุกต์
            5) ตรวจสอบผลงาน
   
            ประโยชน์ของการคิดประยุกต์ 
            1) แก้ปัญหา
            2) ค้นพบ "สิ่งใหม่"
            3) ค้นพบ "สิ่งทดแทน"
         4) ลดการลอกเลียบแบบ

            กล่าวได้ว่า การคิดเชิงประยุกต์ เป็นการนำสิ่งที่มีอยู่มาคิดใหม่ ใช้ใหม่ ให้สอดคล้องกับบริบทใหม่ ใช้ประโยชน์ได้

การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
              การคิดเชิงสร้างสรรค์ เป็นการขยายชอบเขตความคิดออกไป จากกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่ สู่การส้รางความคิดใหม่ๆที่ไมเคยมีมาก่อน เพื่อนค้นหาคำตอบที่ดีที่สุด ให้กับปัญหาที่เกิดขึ้นหรือสิ่งที่คิดขึ้นมาใหม่

                                                         ภาพที่ 4 เก้าอี้ในแบบความคิดสร้างสรรค์
                                         ที่มา: groovyarea.com

                องค์ประกอบความคิดสร้างสรรค์
                1) ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency)
                2) ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility)
                3) ความคิดริเริ่ม (Originality)
                4) ความคิดละเอียดอ่อน (Elaboration)

                กระบวนการคิดสร้างสรรค์ มี 6 ขั้นตอน
                1) เริ่มต้นจากการค้นพบ
                2) เตรียมการและรวบรวมข้อมูล
                3) วิเคราะห์
                4) ฟูมฟักความคิด
                5) ความคิดกระจ่าง
                6) ทอสอบความคิด

               ประเภทการคิดชิงสร้างสรรค์ การคิดเชิงสังเคราะห์จัดเป็นการสร้างสรรค์แบบการเปลี่ยนแปลง (Innovation) แบบการสังเคราะห์ (Synthesis) แบบต่อเนื่อง (Extension) และแบบการลอกเลียน (Duplication)
       
              ลักษณะการคิดเชิงสร้างสรรค์ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ต้องเป็นสิ่งใหม่ ต้องใช้การได้และต้องมีความเหมาะสม

             กล่าวได้ว่า การคิดเชิงสร้างสรรค์ เป็นการสร้างคิดเพื่อการส้รางวิธีการหรือวัตกรรมใหม่ช่วยให้พบวิธีแกปัญหาในวิถีทางที่ไม่เคยปฏิบัติมาก่อน ก่อให้เกิดนวัตกรรม หรือสิ่งประดิษฐ์แปลกใหม่หรือได้สิ่งที่กว่าเดิม
             

กลุ่มที่ 4 การคิดองค์รวม

การคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking) 
              การคิดเชองมโนทัศน์ เป็นความสามารถในการประสานข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่เกี่ยวกับเรื่องหนึ่งเรื่องใดได้อย่างไม่ขัดแย้ง แล้วนำมาส้รางเป็นความคิดรวบยอดหรือกรอบความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น

              ประโยชน์ของการคิดเชิงมโนทัศน์ เนื่องจากการคิดเชิงมโนทัศน์ช่วยเพิ่ม "เลนส์ในการมองโลก" ช่วยแยก "แก่น" ออกจาก "กระพี้" และช่วย "เปิดประตู" กรงขังแห่งประสบการณ์
              รูปแบบการคิดเชิงมโนทัศน์ ซึ่งเป็นกรอบในการสร้างความคิดรวบยอดโดยเครื่องมือที่ใช้สำหรับสะท้อนความคิด อาทิ
              1) แผนผังมโนทัศน์ (Concept Map)
              2) ลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Flowchart Diagram)
              3) แผนที่ความคิด (Mind Map)
              4) แผนที่ภูมิผสมผสาน (Matrix Diagram)
              5) แผนภูมิโยงใย (Web Diagram)
              6) แผนที่ก้างปลา (Fishbone Map)
              7) โครงสร้างสามส่วน (Tree Structure)
              8) กราฟภายใน (Interval Graph)
              9) แผนภูมินิเวนน์ (Venn Diagram)
            10) กราฟออเดอร์ (Order Graph)
            11) แผนที่การจัดลำดับ (Classification Map)
            12) กราฟหมุนเวียน (Cycle Graph)
                              ฯลฯ

              กล่าวได้ว่า การคิดเชิงมโนทัศน์ เป็นการฝึกคิดแบบสร้างความรู้หลักการซึ้งเป็นความคิดรวบยอด ซึ่งมีเครื่องมือหลากหลายฝึกการคิดเชิงมโนทัศน์ ที่ช่วยให้การคิดนั้นมีประสิทธิภาพ

การคิดเชิงบูรณาการ (InteGrative Thinking)
              การคิดเชิงบูรณาการ เป็นความสามารถในการเชื่อมโยงแนวคิด หรือองค์ประกอบต่างๆที่เกี่ยวข้องเข้าหาแกนหลักได้อย่างเหมาะสม เพื่ออธิบายหรือให้เหตุผลสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
              ลักษณะการคิดเชองบูรณาการ เป็นความสามารถทางสมองในการเชิ่อมโยงหน่วยย่อยๆ ทั้งหลายที่มีความสัมพันธ์เชิงเหตุผลเข้าด้วยกันกับเรื่องหลักได้อย่างเหมาะสมกลมกลืนเป็นองค์รวมหนึ่งเดียวที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์
             องค์ประกอบของการบูรณาการ ได้เเก่หน่วยย่อย  องค์ประกอบ ชิ้นส่วยอวัยวะหรือขั้นระดับ แง่ด้านที่จะเอามาประมวลเข้าด้วยกัน ความสัมพันธ์เชื่อมโยง อิงอาศัยซึ่งกันและกัน และความครบบถ้วนบริบูรณ์ มีการประสมประสานกลมกลืนเกิดภาวะได้ี่ พอดีหรือสมดุล องค์รวมที่เกิดขึ้นมีชีวิตชีวา ดำรงอยู่ได้และดำเนินไปด้วยดี

            การบูรณาการ มีลักษณะ
            1) การเชื่อมโยง
            2) การรวมกัน
            3) การประสาน
            4) การผนวก
            5) การเติมเต็ม

            กล่าวได้ว่า กระบวนการคิดบูรณาการ มีขั้นตอน เริ่มจาการทลายกรอบความคิดเดิม เพิ่มขยายกรอบความคิดใหม่ เชื่อมโยงให้ร้อยรัด และจัดการความคิดให้เป็นระบบ

กลุ่มที่ 5 การคิดสู่ความสำเร็จ

การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)
            การคิดเชิงกลยุทธ์ เป็นความสามารถในการกำหนดแนวทางที่ดีที่สุด ภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆที่เกี่ยวข้อง เข้าหาแกนหลักได้อย่างเหมาะสม เพื่ออธิบายหรือให้เหตุผลสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
           องค์ประกอบของการคิดเชิงกลยุทธ์ เริ่มต้นจากมีจุดหมายชัดเจอนมีความเข้าใจสภาพแวดล้อม และมีความคิดสร้างสรรค์จะเอาชนะอุปสรรค

          ลักษณะของการคิดเชองกลยุทธ์
          1) การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน
          2) ลักษณะเป็นกระบวนการ
          3) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก
          4) การประเมินสภาพทั้งของตนเองและสภาพแวดล้อม
          5) มีการคาดการณ์อนาคต
          6) การหาทางเลือกและประเมินทางเลือกก่อนดำเนินการ
          7) มีการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน
          8) มีความยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลงหรือพลิกแพลงได้ตามสถานการณ์

กระบวนการคิดเชิงกลยุทธ์ 
       
          ขั้นกำหนดเป้าหมาย
                    ขั้นวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก
                               ขั้นประเมินสถานภาพ
                                          ขั้นเลือกกลยุทธ์
                                                     ขั้นวางแผนสู่การปฏิบัติการ
                                                                ขั้นดำเนินการ
                                                                          ขั้นประเมินผล

          กล่าวได้ว่า การคิดเชิงกลยุทธ์ เป็นการวิเคราะห์ภาพอนาคตได้ชัดเจน มองจุดอ่อนเเละจุดแข็งของตนและคู่แข็ง มองเห็นอุปสรรคและโอกาสของความสำเร็จของงาน สร้างแนวทางปฏิบัติให้เป้าหมายนั้นเป็นจริง วอเคราะห์ผลได้-ผลเสียก่อนการตัดสินใจ ปลดปล่อยความคิดที่ยึดติดกับความสำเร็จในอดีต และทำให้ความฝันนั้นเป็นความจริง

การคิดเชิงอนาคต (Futuristic Thinking)
          การคิดเชองอนาคต เป็นความสามารถในการคาดการณ์สิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต อย่างมีหลักการที่เหมาะสม และมีความเป็นไปได้ บนพื้นฐานของความเป็นจริง


                           ภาพที่ 5 รถจักรยานยนต์ในอนาคต
                          ที่มา: sanook.com

            การคิดเชิงอนาคต มีความจำเป็นต่อบุคคลเพราะต้องมีการดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติ มีการเตรียมรับมือกับอนาคตและเมื่อต้องการประสบความสำเร็จ จะเป็นการตั้งเป้าหมายไว้ล่วงหน้า แล้วจึงเกิดการคิดคาดการณ์ถึงวิถีการจัดการกับสิ่งต่างๆรอบข้างเพื่อไปสู่เป้าหมายหรือความสำเร็จ

           ความสำคัญในการคิดเชิงอนาคต
           1) เพราะจำเป็นต้องมีชีวิจอยู่เพื่อนอนาคตจึงต้องคิดเตรียมการหรือคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า
           2) เพื่อจะช่วยให้ตัดสินใจในวันนี้ให้ดีเพื่ออนาคตที่ดีกว่า
           3) เพราะช่วยให้มีมุมมองที่กว้างไกล
           4) เพราะช่วยให้คิดเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงได้        

           กล่าวได้ว่า การคิดเชิงอนาคต เป็นการคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น บนฐานแห่งความเป็นไปได้ ช่วยให้สามารถจับกระแสของเหตุการณ์ต่างๆ วิเคราะห์คาดการณ์โอกาศของการเกิดเหตุการณ์ต่างๆได้ ช่วยให้สามารถปรับตัวเตรียมพร้อมรับสถานการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม ช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ เเละช่วยให้สามารถลดความเสี่ยงในบางเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้

กลยุทธ์ความคิดเพื่อความสำเร็จ
            
          นักยุทธศาสตร์และนักวิชาการ ได้กล่าวถึงกลยุทธ์การคิด โดยใช้หลัก 5 P
            P       =       Plan                 แผน
            P       =       Pattern            แบบแผน
            P       =       Position          การวางตำแหน่ง
            P       =       Perspective   มุมมอง
            P       =       Ploy                การเดินหมาก

           กล่าวได้ว่า กลยุทธ์การคิดเพื่อความสำเร็๗ ประกอบด้วยแผน มีแบบแผนวางตำแหน่งการคิด มีมุมมองในสิ่งที่คิดและมีการเดินหมากหรือวิธีการลงมือทำด้วย วิธีการหลากหลาย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด

บทสรุป 
       วิธีการคิดและเทคนิคการคิดที่หลากหลาย ซึ่งเป็นแนวทางและการฝึกกระบวนการคิดในบุคคล ช่วยให้เกิดแนวปฏิบัติในการวินิจฉัยสิ่งที่คิด อันมีความสอดคล้องกับสถานการณ์หรือเหตุการณืที่ต้องแก้ไข หรือพัฒนาสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ 
            คุณค่าของการฝึกฝนวิธีการและเทคนิคการคิด ย่อมก่อให้เกิดกลวิธีในการแก้ปัญหาที่หลากหลาย ไม่อับจนหนทางและวิธีการแก้ปัญหา อันเป็นคุณภาพทางปัญญา ซึ่งสะท้อนให้เห็นศักยภาพภายในของมนุษย์ ว่าการคิดนั้น เป็นคุณสมบัติของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างจากสิ่งอื่น เพราะมีกระบวนการคิดที่ซับซ้อน อันก่อให้เกิดสิ่งที่มีประโยชน์และมีคุณค่าต่อตนเองและสังคม



วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ปัจจัยพื้นฐานแห่งการคิด



บทนำ

                                   
         พระบรมราโชวาท ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
      เกี่ยวกับการคิด ตอนหนึ่ง ความว่า



''การคิดนั้นอาจจะคิดได้หลายอย่าง
จะคิดให้วัฒนะ คือ คิดแล้วทำให้เจริญ งอกงามก็ได้
จะคิดให้หายนะ คือ คิดเเล้วทำให้พินาศฉิบหายก็ได้
การคิดให้เจริญ จึงต้องมีหลักอาศัย
หมายความว่า เมื่อคิดเรื่องใดสิ่งหนึ่ง
ต้องตั้งใจให้มั่นคงในความเป็นกลาง
ไม่ปล่อยให้อคติอย่างหนึ่งอย่างใด ครอบงำ
ให้มีแต่ความจริงใจ ตรงตามเหตุผล
ที่ถูกเเท้และเป็นธรรม''




       การคิด เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องด้วยชีวิตประจำวันทุกขณะแยกหออกจากกันไม่ได้ จนเสมือนเป็นสิ่งเดียวกัน นั่นเป็นสิ่งแสดงให็เห็นว่าไม่มีบุคคลใดใช้ชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องคิด ซึ่งการคิดนั้นเป็นกลไกอัตโนมัติของมนุษย์ ที่มีสมองซับซ้อนและมีความพิเศษเหนือสิ่งมีชีวิตอื่นนี้ นั่นคือความสามารถทางการคิด
      เนื้อหาในบทนี้ กล่าวถึงความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการคิด ทั้งหลักการและเหตุผล องค์ประกอบของสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการคิด เช่น ค่านิยม การเลียนแบบ ประเพณีความเชื่อ  อุปนิสัยคนไทย อคติ กระแสโลกเทคโนโลยี เป็นต้น
       ปัจจุบันเป็นยุค  “ความรู้ คือ อำนาจ”  ซึ่ง  ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ขยายความว่า  เป็นยุคที่ผู้สามารถใช้ข้อมลูข่าวสารต่างๆ ให้เกิดอำนาจได้นั้น จำเป็นต้องมีความสามารถในการใช้ปรับข้อมูลข่าวสารให้อยู่ในขององค์ความรู้และนำมาใช้ประกอบการดำเนินชีวิตด้านต่างๆได้  อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งผู้ที่จะเป็นเช่นนั้นต้องมีคุณสมบัติประการหนึ่งในชีวิต นั่นคือ “คิดเป็น”





ค่านิยม

 




ภาพที่ 1.1 ค่านิยมต่อต้านคอรัปชั่น
ที่มา: dialynews,co.th




 


        ค่านิยม  (Value)  เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่ง ที่มีอิทธิพลต่อการคิดของบุคคลโดยเฉพาะค่านิยมทางสังคม  ซึ่งเป็นแบบแผนกำหนดวิถีชีวิตของบุคคล  ให้มีครรลองเป็นไปตามลักษะสังคมนั้น  ค่านิยมจึงส่งผลต่อการดำเนินชีวิตบุคคลตามกติกาสังคม  ดังสำนวนสุภาษิตไทยที่ว่า เข้าเมือง ตาหลิ่ว  ต้องหลิ่วตาตาม
        ค่านิยมทางสังคมไทยแบบ “ไม่ต้องคิด” เพราะสังคมไทยเป็นสังคมเผด็จการทางความคิด  กล่าวคือ ไม่เปิดโอกาศให้คนคิดแต่งต่าง  แต่เน้นการเชื่อฟังมากกว่าการมีอิสรภาพทางความคิด  ตั้งแต่ระบบครอบครัวที่เน้นการเชื่อฟังเป็นหลัก  โดยพ่อแม่เป็นผู้ออกคำสั่ง  โดยเด็กที่อยู่ในโอวาทและเชื่อฟัง จะได้รับการชมเชย ส่วนเด็กที่ชอบคิดและใช้เหตุผลแต่กต่างจากผู้ใหญ่ จะถูกมองว่า เป็นเด็กชอบเถียง เห็นได้จากภาษิตและคำพังเพย เช่น เดิมตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด  อาบน้ำร้อนมาก่อน เป็นต้น
       ค่านิยมทางการศึกษาไทยแบบ “ไม่ต้องคิด”  เพราะระบบการศึกษาของไทยไม่สอนให้คนคิดเป็น ทำเป็นและประยุกต์ใช้เป็น แต่สอนให้จำและใช้วิธีการประเมินผล คือ คนทีท่องจำได้มากเป็นคนเก่ง  คนที่เชื่อฟังครูไม่ซักถามและไม่โต้แย้ง  คือนักเรียนที่ดี  แต่ถ้าเด็กคิดมาก  ทั้งคิดสร้างสรรค์  คิดวิเคราะห์ หรือคิดวิพากษ์  และมีการใช้เหตุผล จึงมักอยู่ในระบบการศึกษาไทยไม่ได้  เพราะถูกมองว่า เป็นเด็กก้าวร้าว ไม่เชื่อฟัง  สะท้อนปัญกหาการเรียนการสอน จึงไมได้ส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดเป็น เมื่อเติบโต จึงกลายเป็นสภาพคนส่วนใหญ่ที่มีลักษณะที่คิดไม่เป็น
        ค่านิยมการเมืองแบบ “ไม่ต้องคิด”  เพราะสังคมไทยอยู่ในระบบการรวมศุนย์อำนาจ  กล่าวคือ  ใช้วิธีการบริหารแบบ “บนลงล่าง”  ทำให้ไม่ต้องคิด  โดยเฉพาะมีคนนำสิ่งของมาให้ มีการช่วยเหลือ สั่งการและยิ่งไปกว่านั้น การคิดมากเกินไป  อาจเป็นการทำร้ายตนเองได้โดยไม่รู้ตัว  บุคคลซึ่งคิดแตกต่างจากฝ่ายมีอำนาจปกครอง  จะได้รับการเพ่งมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ  จึงกล่าวได้ว่า ค่านิยมที่ไม่ส่งเสริมการคิดย่อมไม่ตอบสนองการพัฒนาบุคคและชาติ
         จะเห็นได้ว่า ค่านิยม ซึ่งอยู่ในลักษณะค่านิยมที่ไม่พึงประสงค์  เป็นปัจจัยที่ไม่ส่งเสริมการคิด ส่งผลกระทบต่อความสามารถทางการคิดของบุคคล  ส่งผลให้ประเทศชาติ เสียโอกาสจากต้นทุนความคิดอันมีค่า




การเลียนแบบ


       
   

ภาพที่ 1.2 การเลียนแบบชาติตะวันตก

ที่มา:  highlight.kapook.com










        การเลียนแบบเป็นปัจจัยหนึ่ง  ที่สะท้อนความด้อยคุณภาพทางการคิด  เพราะแสดงให้เห็นว่า ผู้เลียนแบบไม่มีความสามารถสร้างสรรค์หรอผลิตความคิดแปลกใหม่ ทั้งนี้ การเลียนแบบอาจเป็นผลพวงจากการรับเอาค่านิยมต่างชาติ  โดยปราศจากการลั่นกรอง มาปรับใช้ให้เหมาะกับสังคมไทย  ดังนั้นการเลียบแบบจึงส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อบุคคล
         ตัวอย่างการเลียนแบบ  กรณีหญิงสาวเปลือยอกวาดภาพในรายการไทยแลนด์ก๊อตทาเล้นท์ ปี 2555 ซึ่งกลายเป็นกระแสแห่งการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักหน่วง จากผู้ชมทั่วประเทศและผู้รู้ทางงานศิลป์ ที่ระบุว่า การเปลือกอกวาดภาพ ดังกล่าวเป็นการเลียนแบบแค่เปลือยอกของการแสดงศิลปะแบบชาติตะวันตก  ซึ่งมิใช่แก่นแท้ของการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะแต่อย่างใด
         กล่าวได้ว่า  การเลียนแบบ  เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการคิดของบุคคล  ซึ่งมิได้ก่อให้เกิดการคิดพัฒนาหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่มาใช้เป็นประโยชน์  และการเลียนแบบ ยังเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นว่า บุคคลนั้นขาดความสามารถทางความคิดอันเป็นผลผลิตของกระบวนการทางปัญญา

     


ประเพณีและความเชื่อ


     ประเพณีและความเชื่อ  เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการคิดของบุคคล  เพราะเป็นสิ่งที่เนื่องด้วยวิถีชีวิตประจำวันของบุคคล
     ประเพณี  เป็นสิ่งที่ได้สืบทอดกันมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน ซึ่งมีความเชื่อเป็นรากฐาน  ส่วนความเชื่อนั้น คือความคิดเห็นหรือทิศทางความเห็นที่กลุ่มบุคคลมีอยู่และเป็นไปในทางเดียวกัน สอดคล้องความสัมพันธ์กันและมีอิทธพลต่อการคิด
     สังคมไทยได้รับอิทธิพลจากประเพณีและความเชื่อหลายๆอย่าง โดยเฉพาะรูปแบบของความเชื่อที่ได้ถ่ายทอดมาแต่อดีต  จึงเห็นได้ว่า คนไทยกับความเชื่อเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้  ทั้งในรูปแบบความเชื่อในสิ่งลึกลับ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ความฝันหรือแม้แต่เหตุการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวัน  ประเพณีความเชื่อต่างๆมีอิทธิพลต่อการคิดของคนไทย  เช่น  “วันห้ามต่างๆของไทย”  ว่า

                      ห้ามขึ้นบ้านใหม่วันเสาร์
                                                ห้ามเผาผีวันศุกร์
                                                                 ห้ามโกนจุกวันอังคาร
                                                                                        ห้ามแต่งงานวันพุธ
                                                                                                                  วันพุธห้ามตัด
                                                                                                                                 วันพฤหัสห้ามถอน

คำอธิบายเกี่ยวกันความเชื่อเรื่อง  “วันห้ามต่างๆ ของไทย ซึ่งเป็นความเชื่อ  ว่า
              ห้ามขึ้นบ้านใหม่วันเสาร์  เพราะเชื่อว่าวันเสาร์เป็นวันแรง  ถ้าขึ้นบ้านใหม่ในวันนี้แล้ว  จะทำให้ชีวิตครอบครัวอยู่กันอย่างไม่ปกติสุข
              ห้ามเผาผีวันศุกร์  เพราะเชื่อว่า  วันศุกร์เป็นวันแห่งโชคลาภและความรื่นเริง หากเกินการเผาผีในวันนั้น  จะก่อให้เกิดเรื่องร้ายขึ้น ดังคำกล่าวที่ว่า “เผาผีวันศุกร์ ให้ทุกข์แก่คนยังมีชีวิต ”
             ห้ามโกนจุกวันอังคาร  เพราะเชื่อว่าวันอังคารเป็นสันแข็ง หากโกนจุกในวันนี้แล้วอาจเกิดเรื่องร้านแรง  อาทิ อุบัติเหตุขึ้นกับผู้ถูกโกนจุกได้  เป็นต้น
            ห้ามแต่งงานวันพุธ  เพราะเชื่อกันว่า วันพุธเป็นวันที่ไม่มีความมั่นคง  หากแต่งงานในวันพุธแล้ว จะทำให้ชีวิตแต่งงานมีแต่อุปสรรค์
            วันพุธห้ามตัด  เพราะเชื่อกันว่า วันพุธเป็นวันแห่งความเจริญงอกงาม จึงห้ามตัดสิ่งต่างๆ เช่น การตัดดอกไม้ รวมทั้งร้านตัดผม นิยมให้หยุดบริการในวันพุธ เป็นต้น
           วันพฤหัสห้ามถอน  เพราะเชื่อกันว่า วันพฤหัสเป็นวันแห่งความมั่นคั่ง  ดังนั้น การถอดถอนต้นไม้ เสาเรือนหรือถอดถอนสิ่งสำคัญต่างๆ
           อย่างไรก็ตามความเชื่อ เรื่องวันห้ามต่างๆของไทยทั้ง 7 วัน  มีการห้ามไว้ 6 วัน  แต่ยกเว้นวันอาทิตย์ไว้ จึงกล่าวได้ว่าความเชื่อและประเพณีเหล่านี้  มีผลถ้าทายต่อการคิดและหาเหตุผลมาอธิบายปรากฏการณ์เหล่านี้ต่อไป  ”











ภาพที่ 1.3 ความเชื่อเรื่องแมวดำ
ที่มา: creditonhand.com










อีกอย่างหนึ่ง ของความเชื่อของคนไทยเกี่ยวข้องกับสิ่งอวมงคล  เช่น  การไม่ปลูกตันไม้อวมงคลในบริเวณบ้าน  การเลี้ยงแมวดำและการถือตัวเลขอัปมงคล เป็นต้น  ซึ่งความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งอวมงคลนี้ มีอิทธิพลต่อการคิดและการดำเนินชีวิตของคนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
          กล่าวได้ว่า  ประเพณีและความเชื่อ มีอิทธิพลต่อการคิดของบุคคล แม้ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าความเชื่อเหล่านี้  มีความเกี่ยวข้องกับคนไทยมาแต่เมื่อใด  และมิอาจใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์ไขความสงสัยได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าประเพณีและความเชื่อ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิต่อการคิด อย่างน้อยความเชื่อที่ถือตามกันมา ไม่ทำให้คนต้องคิดเพื่อหาคำตอบในสิ่งที่สงสัย



วิชีวิตแบบไทย

คนไทย....มี....กายกรรม เป็นพราหมณ์ วจี  เป็นพุทธ พฤติกรรม เป็นผี







ภาพที่ 1.4 วิถีชีวิตไทยกับความเชื่อเรื่องกล้วย
ที่มา: www.bloggang.com










             คนไทย  มีกายกรรม  เป็นพราหมณ์  กล่าวคือคนไทยมีพฤติกรรมตามความเชื่อแบบการทำพิธีกรรม ของพราหมณ์และศาสนาพราหมณ์
            คนไทย มีวจีกรรมเป็นแบบพุทธ  กล่าวคือคนไทนมีมีพฤติกรรมการพูดและอ้างอิงหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นหลักการที่ดีงาม
           คนไทย มีพฤติกรรม เป็นเป็นผี  กล่าวคือ คนไทยจะกระทำสิ่งใด ปราศจากการใคร่ครวญอย่างเหมาะสมและไม่ได้ตั้งอยู่ในหลักควาวมเป็นจริง  ซึ่งคนไทยมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องผีสาง และสิ่งที่มองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า
  กล่าวได้ว่า  คนไทย มีความสับสนในวิถีการดำเนินชีวิต  เพราไม่แน่ใจว่าวิถีชีวิตแบบใด  จะใช้เป็นครรลองของสังคมไทย  อันบ่งบอกถึงวิถีชีวิตแห่งไทย




นิสัยของคนไทย

          อุปนิสัย เป็นสิ่งที่สั่งสมมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมแห่งการปลูกฝังและอบรมเลี้ยงดูตั้งแต่เล็ก จนใหญ่  รมทั้งกระบวนการทางสังคม ย่อมมีส่วนขัดเกลาบุคคลให้มิอุปนิสัยด้วย
        วิรัช  วิรัชนิภาวรรณ  ได้วิจัยวิเคราะห์ลักษณะนิสัยของคนไทย  พบว่าอุปนิสัยที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศและการคิดของคนไทย มี 30 ประการ ดังนี้
        ประการที่   1.  คนไทยเชื่อเรื่องเวณกรรม
        ประการที่   2.  คนไทยถ่อมตนและยอมรับระบบชนชั้น
        ประการที่   3.  คนไทยยึดถือระบบอุปถัมภ์
        ประการที่   4.  คนไทยไม่ยอมรับคนอายุเท่ากันหรือต่ำกว่า
        ประการที่   5.  คนไทยติดนิสัยพึ่งพาคนอื่น
        ประการที่   6.  คนไทยไม่รู้จักพอปราะมาณ
        ประการที่   7.  คนไทยรักเสรีทำอะไรตามใจชอบ
        ประการที่   8.  คนไทยไม่ชอบค้าขาย
        ประการที่   9.  คนไทยชอบเอาตัวรอดและโยนความผิดให้ผู้อื่น
        ประการที่   10.  คนไทยไม่ชอบรวมหกลุ่มและขาดความร่วมมือ
        ประการที่   11.  คนไทยขาดการวางแผน
        ประการที่   12.  คนไทยชอบการพนันเหล้าและความบันเทิง
        ประการที่   13.  คนไทยมีนิสัยเกียจคร้าน
        ประการที่   14.  คนไทยไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง
        ประการที่   15.  คนไทยเห็นแต่ตัวและคิดเอาแต่ได้
        ประการที่   16.  คนไทยมีนิสัยลืมง่าย
        ประการที่   17.  คนไทยชอบสิทธิพิเศษ
        ประการที่   18.  คนไทยมีนิสัยฟุ่มเฟื่อย
        ประการที่   19.  คนไทยไม่รู้แพ้ รู้ชนะ
        ประการที่   20.  คนไทยไม่ยกย่องผู้หญิง
        ประการที่   21.  คนไทยมีจิตใจคับแคบ
        ประการที่   22.  คนไทยชอบสร้างอิทธิพล
        ประการที่   23.  คนไทยมักประณีประนอม
        ประการที่   24.  คนไทยไม่ตรงต่อเวลา
        ประการที่   25.  คนไทยไม่รักสาธารณสมบัติ
        ประการที่   26.  คนไทยชอบพูดมากกว่าทำ
        ประการที่   27.  คนไทยยกย่องวัตถุ
        ประการที่   28.  คนไทยชอบของฟรี
        ประการที่   29.  คนไทยสอดรู้สอดเห็น
        ประการที่   30.  คนไทยขาดจิตสำนึกและอุดมการณ์เพื่อประเทศชาติ

        กล่าวได้ว่า  อุปนิสัยของคนไทย  เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคิดของคนไทย  รวมทั้งอุปนิสัยคนไทยด้านลบเหล่านี้ กลายเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ




อคติ

       
   ความลำเอียง  คือ  อคติ  ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคิด  โดยเป็นปัจจัยภายในบุคคล  อันเกิดขึ้นได้จากความรู้สึก  4  ประการ ได้แก่
                              ลำเอียง  เพราะความรักและความพึงพอใจ
                                                        ลำเอียง  เพราะความโกรธและเกลียดชัง
                                                                             ลำเอียง  เพราะความลุ่มหลงงมงาย
                                                                                                           ลำเอียง  เพราะความกลัว

                กล่าวได้ว่าความลำเอียง  เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการคิดของบุคคล  ดังนั้นการแก้ไขความลำเอียงที่มี  ควรทำใจเป็นกลาง มีสติปัญญาควบคุสอารมณ์ไม่ให้ครอบงำความคิด  ซึ่งจะส่งผลให้แสดงเกิดพฤติกรรมต่างๆของบุคคลทั้งทางบวกและทางลบ




กระแสเทคโนโลยี





ภาพที่ 1.5 เทคโนโลยีกับคนรุ่นใหม่
ที่มา: www. thaiza.com
     







            เทคโนโลยีและสื่ออิเล็กทรอนิกส์  เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคิดของบุคคลโดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน  ซึ่งเป็นยุคสมัยเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า  มีค่านิยมบูชาความเร็วและส่งเสริมการแข่งขันทางเศรษฐกิจสูงขึ้น
             การยอมรับและปรับตัว  เพื่อร่วมอยู่มในกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกนั้น  ย่อมเป็นพฤติกรรมธรรมชาติของมนุษย์ในสังคม  อย่างไรดี  การรู้จักใช้เทคโนโลยีอย่างมีความสามารถในการคิด  และรู้เท่าทัน  ย่อมเป็นสิ่งควบคุมพฤติกรรมการเสพติดเทคโนโลยี
           กล่าวได้ว่า  เทคโนโลยี มีอิทธิพลต่อชีวิตและการคิดของบุคคล  ซึ่งการใช้เทคโนโลยี  ความประกอบด้วยความระมัดระวังมากที่สุด  โดยความไม่หลงลืมตนใช้ไปอย่างไร้สติ  เพราะการมีชีวิตอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงต่างจากชีวิตในโลกเสมือนจริงทางเทคโนโลยี  ดังนั้นควรมีช่องว่งและความพอดี  อย่าปล่อยให้กระแสเทคโนโลยีครอบงำนำพาชีวิต  เพราะประโยชน์สูงสุดของเทคโนโลยีนั้น เป็ฯเพียงเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกและช่วยลดข้อจำกัดของการสื่อสารถึงกัน





สิ่งแวดล้อมทางพันธุกรรม


       
    สิ่งแวดล้อมทางพันธุกรรม  เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคิดของบุคคล  อย่างแนบเนื่อง  เพราะสองประการนี้เป็นปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในสำคัญ
                 สิ่งแวดล้อม  เป็นสภาพภายนอกของบุคคล  เป็นภาวะทางสังคมและปัจจัยแวดล้อมภายนอก ที่ไม่สามารถควบคุมได้โดยบุคคล  เส้นสภาพอากาศ  สภาพสังคม  สภาพเศรษฐกิจ เป็นต้น
                 พันธุกรรม เป็นการถ่ายทอดลักษณะทางกายภาพและอุปนิสัย จากบุคคลรุ่นก่อนสู่บุคคลรุ่นใหม่ โดยสายโลหิต ซึ่งเป็นปัจจัยภายในที่ม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ เช่น หมู่เลือด ลักษณะหน้าตาจากพ่อแม่ เป็นต้น
                  กล่าวได้ว่า สิ่งแวดล้อมและพันธุกรรม เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการคิดของบุคคล ซึ่งมีลักษณะทั้งควบคุมได้และควบคุมไม่ได้




บทสรุป

              ปัจจัยแห่งการคิด เป็นเหตุที่ส่งผลต่อการคิดของบุคคล ซึ่งจะต้องเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจและก้าวข้ามปัจจัยที่มีผลกระทบทางลบต่อการคิด ซึ่งปัจจัยที่สำคัญประกอบด้วยความนิยม การลอกเลียนแบบ ประเพณีความเชื่อ วิถีชีวิตคนไทย กระแสเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อมและพันธุกรรม
                  การคิดให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผู้คิดควรตระหนักถึงปัจจัยแห่งการคิด รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ อันส่งผผลต่อการคิดที่คลาดเคลื่อนจากความต้องการและความเป็นจริง ดังนั้นการคิดในแต่ละครั้ง จึงควรคำนึงถึงปัจจัยแห่งการคิดด้วย