ตัวษรวิ่ง

Welcome to my Blogger >.<" ยินดีต้อนรับจ้า

การคิดเชิงจริยธรรม


บทนำ 

   

                                พระบรมราโชวาท เกี่ยวกับการคิด
                                  ซึ่งทรงพระราชทานไว้ ความว่า....

                      "ความคิดนั้น
                                เป็นแม่บทใหญ่ของคำพูดและการกระทำ
         เพราะกิจที่จะทำ คำที่จะพูด ทุกอย่างสำเร็จมาจากความคิด
การคิดก่อนพูดและคิดก่อนทำ
จึงช่วยให้บุคคลสามารถยับยั้ง
คำพูดที่ไม่สมควรพูด
หยุดยั้งการกระทำที่ไม่ถูกต้อง
พูดและทำแต่สิ่งที่จะสัมฤทธ์ผลเป็นประโยชน์ความเจริญ"


                    จากพระบรมราโชวาท ดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่าหากการคิด ซึ่งเป็นแม่บทตั้งอยู่บนฐานความคิดผิด เหมือนกับการกลัดกระดุมผืดตั้งแต่เม็ดแรก ย่อมส่งผลให้เกิดความคลาดเคลื่อนและความผิดเนื่องกันไป  แต่หากการคิด ซึ่งเป็นแม่ทบตั้งอยู่บนฐานความถูกต้อง ผลที่เกิดขึ้นตามมา ย่อมจะมีความถูกต้อง และผลสัมฤทธิ์ที่มีประโยชน์และความเจิรญต่อผู้คิดและส่วนรวม
                   ดังนั้น การคิดที่อยู่บนพื้นฐานแห่งความดีงาม จะเป็นความดีที่ผลิตผลแห่งความสุข และความเจริญก้าวหน้า


ศีลธรรม (Moral) 
                 ศีลธรรม เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคิด ที่มุ่งเน้นความดีงามในความหมายนี้ ศีลธรรมจะ บ่งถึงความประพฤติที่ดีที่ชอบทั้งศีลธรรม ซึ่งศีลธรรม มีรากฐานคำสอนทางศาสนาครอบคุมถึงศีล 5 และ ธรรม 5 
                ศีล 5 เป็นหลักมนุษยธรรมพื้นฐานที่ควรละเว้นจากการคิดเอารัดเอาเปรียบและเบียดเบียนทำร้าย ซึ่งกันและกัน มี 5 ลักษณะที่ควรละเว้น ได้แก่ การทำร้ายชีวิต ทรัพย์สิน สิ่งของที่รัก การพูดจาทำร้ายจิตใจและการทำร้ายสติสัมปชัญญะด้วยสิ่งเสพติด
                ธรรม 5 เป็นหลักมนุษยธรรมพื้นฐาน ที่ควรกระทำต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยคิดที่บริสุทธ์ด้วยความคิดที่บริสุทธ์ ไม่ทำร้ายซึ่งกันและกัน มี 5 ลักษณะที่ควรกระทำ ได้แก่การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความสุจริต การเคารพสิทธิซึ่งกัน การรักษาสัจจะ และความไม่ประมาท 
               ศีลธรรม นับเป็นปัจจัยสำคัญในการคิด ที่ีึมีความดีเป็นรากฐานซึ่งจะช่วยลดความขัดแย้งและก่อปัญหาซ้ำซ้อนให้เกิดขึ้นจากผลของการคิด
               กล่าวได้ว่า ศีลธรรม เป็นหลักธรรมทางศาสนาประจำใจ กำหนดไว้สำหรับกำกับความประพฤติกรรม ทางความคิด และจิตใจ สร้างสามัญสำนึกที่ดีอันเป็นความรู้สึกรับผิดชอบ ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการคิด โดยใช้ฐานความดีงาม เป็นเงื่อนไขในการคิด ด้วยความบริสุทธฺ์ทางจิตใจ

คุณธรรม (Virtue)
              คุณธรรม  เป็นปัยจัยที่มีอิทธิพลต่อการคิดหนึ่ง ซึ่งเป็นระบบคุณค่าของความดีงานอันมีรากฐานมาจากศีลธรรม โดยมีพฤติกรรมแสดงถึงมาตรฐาน ทางศีลธรรมเป็นรูปแบบของความคิดและการกระทำ
             คุณธรรม เป็น คุณลักษณะที่คำนึงถึงสิ่งที่ึควรและไม่ควร โดยมีหลักใหญ่สามประการ ได้แก่ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีในแต่ละบุคคล ระบบยุติธรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม ประเพณีท้องถื่น ประวัติศาสตร์ทางสังคม และธรรมเนียมปฏิบัติ

                                              ไม่ฝึกคุณธรรม     สักแต่จำเรียนรู้ไป
                                             รู้แล้วทำไม่ได้       สำเร็จไกลไม่เกิดนา

              กล่าวได้ว่า คุณธรรม เป็นสภาพความดี หรือคุณลักษณะที่แสดงออกของความดี ที่แสดงออกด้วยการปฏิบัติและเป็นที่ประจักษ์แก่คนทั่วไป อาจแบ่งเป็นคุณธรรมบุคคล คือการพิจารณา และ จำแนกระหว่างสิ่งที่ถูกและผิด ตามเจตนา แรงจูงใจ หรือการกระทำ และคุณธรรมต่อส่วนรวม คือ จิตสำนึกของมนุษย์ ที่ตระหนักถึงความผิดชอบชั่วดี

จริยธรรม (Ethics)
              จริยธรรม เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่ง ที่มีอิทธิพลต่อการคิดของบุคคลหากบุคคลนั้นคิดดี แสดงว่าคิดมีจริยธรรม ในหลักการนี้ จริยธรรมจึงเป็นหลักแห่งความประพฤติมีที่มาจากคำสอนศาสนา หรือผู้มีจริยธรรมที่ได้รับ ความเคารพนับถือ มาเพื่อใช้เป็นครรลองแห่งความประพฤติที่ดีงาม
              ผู้มีจริยธรรม ตามแนวคิดของโคลเบิร์ก นักศึกษาที่เน้นจริยธรรม กล่าวว่า ผู้นั้นจะมีจริยธรรมสำคัญทางด้านความรู้เชิงจริยธรรม เหตุผลเชิงจริยธรรม ทัศนคติ เชิงจริยธรรมและพฤติกรรมเชิงจริยธรรม ซึ่งบุคคลผู้มีจริยธรรม จะมีคุณลักษณะสำคัญ


Rเป็นผู้ที่มีความเพียรความพยายามประกอบความดี ละอายต่อความชั่ว
       
      Rเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม และเมตตากรุณา

Rเป็นผู้มีสติปัญญา รู้สึกตัวอยู่เสมอและไม่ประมาท

      Rเป็นผู็ใฝ่หาความรู้ ความดีงามในการประกอบอาชีพ อย่างสุจริต
    
Rเป็นผู้ชี้นำและให้ปัญญาแก่สังคม ในการพัฒนา    

              กล่าวได้ว่า ผู้มีจริยธรรม ประพฤติในจรรยาเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคม โดยมีความพยายามในการทำความดี ละเว้นความชั่ว ซื่อสัตย์ มีสติสัมปชัญญะ ใฝ่ความรู้ ความดี อย่างสุจริตและสามารถให้ปัญญาชี้นำแก่สังคม

มโนธรรม (Consclous)
               มโนธรรม เป็นปัจจัยภายในที่มีอิทธิพลต่อการคิด ซึ่งมโนธรรมนั้น เป็นความสำนึกทางศีลธรรมที่มนุษย์ทุกคนมีโดยธรรมชาติ
               มโนธรรม คือ ความสำนึกทางศีลธรรมนี้ เป็นเสียงที่อยู่ภายใน จิตใจ เป็นจิตสำนึกที่จะบอกให้รู้ว่าอะไรถูก อะไรผิด อะไรควรหรืออะไรไม่ควร
               มโนธรรม มีลักษณะเหมือนกับดวงตาของเรา เมื่อมองใบไม้ที่เป็นสีเขียว การมองเห็นเป็นสีเขียว  เพราะดวงตาเป็นผู้บอก ความจริงนั้น
              ลักษณะของมโนธรรม ซึ่งเป็นสามัญสำนึก จะเกิดขึ้น เช่นเมื่อความกตัญญูปรากฏต่อมโนธรรมในบุคคล ย่อมรู้ได้ด้วยตัวเองโดยตรงว่ามันเป็นการกระทำดี และในขณะเดียวกัน เมือการโกหกปรากฏต่อมโนธรรมของเรา ย่อมรับรู้ได้ด้วยตนเองโดยตรงว่า การกระทำความเลวนั้นมีอยู่ในตัว จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ
            
            กล่าวได้ว่า มโนธรรม เป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการคิดโดยตรง หากการคิดนั้นประกอบด้วยมโนธรรมสำนึกที่ดี ผลของการคิดย่อมเกิดขึ้น เป็นความดีและมีคุณค่า 

วัฒนธรรม (Culture) 
           วัฒนธรรม เป็นปัจจัยสำคัญต่อการคิด ซึ่งมีลักษณะร่วมทางสังคม มีครรลองแห่งความประพฤติของสังคมนั้น เป็นตัวกำหนดวัฒนธรรม
           พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2485 ระบุถึงวัฒนธรรม เป็นลักษณะที่แสดงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบ ความกลมเกลียว กว้าหน้าของชาติและศีลธรรมอันดีงามของประชาชน
           การดำรงชีวิตอยู่ในสังคมใด ย่อมมีแบบแผนทางวัฒนธรรมสังคมนั้น กล่าวได่ว่า วัฒนธรรมเป็นครรลองแห่งความประพฤติของสังคมหนึ่ง ซึ่งต้องการให้เป็นประชาชนในสังคมนั้น มีวัฒนธรรมในการอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข
           หน้าที่ของวัฒนธรรม เป็นตัวกำหนดรูปแบบของแต่ละสังคมซึ่งมีความหลากหลาย เช่น วัฒนธรรมอิสลามอนุญาตให้ชาย (ที่มีความสามารถเลี้ยงดูและให้ความ ยุติธรรมแก่ภรรยา) มีภรรยาได้มากกว่า 1 คน โดยไม่เกิน 4 คน แต่ห้ามสมสู่ระหว่างเพศโดยเด็ดขาด ในขณะที่ศาสนาอื่นอนุญาตให้ชายมีภรรยาได้เพียง 1 คน ฉะนั้นรูปแบบของสถาบันครอบครัวจึงอาจแตกต่างกันไป

ภาพที่ 1 วัฒนธรรมในวันสงกรานต์
                                                      ที่มา: fm91bkk.com

              กล่าวได้ว่า วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ ว่าจะให้เป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของกลุ่มสังคมนั้น ซึ่งวัฒนธรรมนี้เป็นสิ่งที่ควบคุมและส้รางความเป็นระเบียบเรียบร้อยให้แก่สังคม เพราะภายในวัฒนธรรม จะมีทั้งความ ศรัทธา ความเชื่อ ค่านิยม บรรทัดฐานต่างๆ เป็นต้น ตลอดจนผลลัพธ์ที่ได้จากการปฏิบัติและบทลงโทษเมื่อฝ่าฝืนวัฒนธรรมนั้น 

มนุษยธรรม (Humanity)
               มนุษยธรรม เป็นปัจจัยภายในสำคัญหนึ่ง ซึ่งมีอิทธิพลต่อการคิดของบุคคล ซึ่งมนุษยธรรมนั้น เป็นธรรมที่ทำให้คนเป็นมนุษย์สมบูรณ์ โดยเฉพาะหลักมนุษยธรรมพื้นฐานเกี่ยวกับศีลห้า 
               ความสำคัญของมนุษยธรรมนั้น หากปรากฏว่าในสังคมใดที่ไร้มนุษยธรรมเป็นเครื่องคุ้มครองจิตใจ สังคมนั้นย่อมมีพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตไม่ต่างจากสัตว์ทั่วไป ทั้งนี้ในระดับบุคคล ก็เช่นเดียวกัน เพราะเป็นมนุษยธรรม คือธรรมของมนุษย์
               หลักมนุษยธรรม ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานในศีลห้า เป็นข้อบัญญัติไว้สำหรับผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา ที 5 ประการ ประกอบด้วยการเว้นจากการฆ่าสัตว์  การเว้นจากการลักทรัพย์ การเว้นจากการประพฤติล่วงเกินสิ่งรักใคร่ของผู้อื่น การเว้นจากการพุดเท็จและการเว้นจากการดื่มเครื่องดองของเมาทุกชนิด และศาสนาต่างๆก็มีหลักปฏิบัติด้านมนุษญธรรมเช้นเดียวกัน 

                                               ภาพที่ 2 การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
                                               ที่มา: thaihealth.ro.th

                 กล่าวได้ว่า มนุษยธรรม มีอิทธิพลต่อการคิดของบุคคลและพฤติกรรมทางสังคมซึ่งรวมตัวกันประพฤติตามหลักมนุษยธรรม ดังนั้น ปัญหาต่างๆ จะไม่เกิดขึ้นเพราะสังคมมีความเมตตาเห็นอกเห็นใจ เห็นประโยชน์หรือสุขทุกข์ของผู้อื่นเป็นเสมือนหนึ่งว่าเป็นของตน นั่นเพราะว่าต่างมีมนุษยธรรม ประทับในจิตใจ

อารยธรรม (Civilzation)
                อารยธรรม เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการคิดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีรากฐานมาจากวัฒนธรรมอันเป็นความเจริญรุ่งเรือง จนกลายเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ของสังคมนั้น
               อารยธรรม เป็นความเจริญงอกงาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมาย อารยธรรม ว่า ความสงบสุขของสังคมที่ตั้งอยู่บนรากฐานแห่งศีละธรรมและกฎหมาย ซึ่งความเจริญเนื่องด้วยองค์การของสังคม เช่นการเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรม เป็นต้น และความเจริญขนบธรรมเนียมอันดีนั้น กลายเป็นอารยธรรมแบ่งออกเป็ น 2 ชนิด ได้แก่ 
              -   อารยธรรมทางวัตถุ
              -   อารยธรรมทางจิตใจ

              กล่าวได้ว่า อารยธรรม มีอิทธิพลต่อการคิดและพฤติกรรมของบุคคล  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเจริญงอกงามทางความคิดที่สั่งสมมาอย่างต่อเนื่อง หลายยุคสมัย จนกลายเป็นวัฒนธรรมที่ถือปฏิบัติกันจนเป็นที่ยอมรับ และมีอิทธิพอต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในสังคม ซึ่งกลายเป็นอารยธรรม

ค่านิยมพอเพียง

               แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดที่พระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน ให้แก่ประชาชนในทุกระดับ ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ตั้งแต่พุทธศักราช 2517 โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังไทย ซึ่งยึดหลักการพึ่งตนเอง ความพอ พอกิน และพอใช้อย่างพอเพียง
              หลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ที่การรู้จักประมาณตน คือความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี เพื่อให้มีความพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่มี โดยมีเงื่อนไขแห่งความรอบคอบ คำนึงถึงความถูกต้อง ตามหลักวิชาการและคุณธรรม
              หลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ สามารถนำประยุกต์ใช้กับชีวิตการทำงานได้ทุกระดับ เพราะเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการปฏิสัมพันธ์และเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยวิกฤต เพื่อความมั่นคงและยั่งยืนของการพัฒนา

               จึงกล่าวได้ว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นค่านิยมที่ดีงาม เปรียบเสมือนเสาหลักของสังคมไทย ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในบริบทต่างๆได้  ไม่ว่าจะเป็นการบริหารระดับชาติ หรือการพัฒนาเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งเป็นแนวคิดที่มีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิตในระดับครอบครัวและบุคคล

โยนิโสมนสิการ: หลักการพัฒนาปัญญาและวิธีคิดแบบพุทธ
               วิธีการคิด  ตามหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาปัญญาและการคิด ซึ่งพระธรรมปิฎก (ปอ. ปยุตโต) ได้กล่าวว่า ความสุขของมนุษย์เกิดจากการรู้จักดำเนินชีวิตให้ถูกต้องต่อตัวเองและผู้อื่น ซึ่งการรู้จักการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง คือการรู้จักคิดเป็น พูดเป็น และทำเป็น โดยเฉพาะการคิดเป็นนั้น จัดว่าเป็นศูนย์กลางการบริหารชีวิตเพราะการคิดทำหน้าที่ชี้นำทางและควบคุมการกระทำ  และกระบวนการคิดเป็น เป็นสิ่งที่พัฒนาได้ ฝึกฝนได้โดยกระบวนการการศึกษา โดยการพัฒนาการคิดนั้นเรียกว่า การพัฒนาสัมมาทิฐิ ผลที่ได้รับสืบการกระทำที่ดีงาม
                พระธรรมปิฎก (ปอ. ปยุตโต) ชี้ให้เห็นว่า บุคคลจะสามารถพัฒนาให้ใช้ การคิด ซึ่งเป็นโยนิโสมนสิการอย่างเดียวไม่ได้  จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยภายนอก คือ กัลยาณมิตร ก่อนในเบี้องต้น กล่าวคือจะต้องมีปัจจัยภายนอก อันมีอิทธิพลต่อปัจจัยภายในแห่งการคิด ตามหลักการแห่งโยนิโสมนสิการ

                ความหมายโยนิโสมนสิการ
                โยนิโสมนสิการ คือ การคิดเป็น จัดได้ว่าเป็นความสามารถที่บุคคลรู้จักมองรู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลายตามสภาวะโดยวิธีการคิดหาเหตุปัจจัย  สืบค้นจากต้นเหตุตลอดสายจนถึงผลสุดท้ายที่เกิด  แยกแยะเรื่องออกให้เห็นตามสภาวะที่เป็นจริง คิดตามความสัมพันธ์ที่สืบทอดสาเหตุ โดยไม่เอาความรู้สึกตน ไปครอบคลุม จะช่วยให้แก้ปัญหาต่างๆได้อย่างเหมาะสม อันเป็นวิธีการแห่งปัญญา

               ลักษณะโยนิโสมนสิการ
               โยนิโสมนสิการ ไม่ใช่ตัวปัญญา แต่เป็นปัจจัยก่อให้เกอดปัญญา มีเป้าหมายสูงสุดคือแก้ปัญหา เพื่อให้สิ้นสภาพที่เป็นปัญหา
               ลักษณะโยนิโสมมนสิการ ซึ่งเป็นวิธีการคิด มี 4 องค์ประกอบสำคัญ
               1) การคิดเพื่อเข้าถึงความจริง
               2) การคิดอย่างมีลำดับขั้นตอน
               3) การคิดอย่างมีเหตุผล
               4) การคิดอย่่างมีเป้าหมาย

               กล่าวได้ว่า การใช้โยนิโสมนสิการให้ประสบความสำเร็จ จะต้องอาศัย สติเป็นสิ่งสำคัญในการทำงานและกิจกรรมทุกอย่าง ดังนั้นการคิดเป็นหรือการใช้โยนิโสมนสิการ จะป็นสิ่งหล่อเลี้ยงสติที่ยังไม่เกิดขึ้นให้ได้เกิด และช่วยให้สติที่เกิดแล้วเกิดต่อเนื่องต่อไป

              วิธีการแห่งปัญญา: โยนโสมนสิการ 10 วิธี
               โยนิโสมนสิการ เป็นวิธีการคิด มี 10 วิธี ประกอบด้วย การคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย การคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ การคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา และการคิดแบบแก้ปัญหา การคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ การคิดแบบคุณโทษและทางออก การคิดแบบรู้คุณค่าแท้และคุณค่าเทียม การคิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม การคิดเป็นอยู่ในปัจจุบันขณะ และการคิดแบบวิภัชวาท 

การคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย

                การคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย เป็นกระบวนการพิจารณาปรากฏการณ์ต่างๆ ให้รู้จักสภาวะตามที่มันเป็นจริง เพื่อค้นหาหนทางแก้ไข ด้วยการสืบสาวหาสาเหตุและปัจจัยต่างๆที่สัมพันธ์ส่งผลสืบเนื่องกัน

                การคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัยนี้ แบ่งได้ 2 วิธี 
                1) วิธีคิดแบบปัจจัยสัมพันธ์ เป็นการคิดพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ด้วยการมองย้อนและสืบสาวเชื่อมโยง ถึงปัจจัยต่างๆที่สัมพันธ์กัน อันทำก่อให้เกิดผลหรือปรากฏการณ์นั้นๆ
               2) วิธีคิดแบบสอบสวน (กระบวนการตั้งคำถาม) เป็นการคิดพิจารณา โดยใช้การตั้งคำถามต่อเนื่อง ว่าทำไม เพราะอะไร

การคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา 

               การคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา เป็นการมองเห็นสถานการณ์ ที่มีความเป็นไปชองสิ่งทั้งหลายอย่างรู้ทันและเข้าใจในความเป็นธรรมดาของสิ่งเหล่านั้นตามสภาพที่เป็นซึ่งสิ่งเหล่านั้นจะต้องเป็นไปอย่างนั้นตามเหตุปัจจัย กล่าวคือทุกสิ่งทุกอย่าง เกิดขึ้นจะต้องทีการเปลี่ยนแปลง และไม่คงอยู่ตลอดไป


การคิดแบบแก้ปัญหา 

               การคิดแก้ปัญหานี้ เรียกชื่ออีกอย่างว่าการคิดแบบอริยสัจ วิธีคิดนี้มีหลักการสำคัญ โดยเริ่มต้นจากปัญหาเป็นสารตั้งต้น แล้วนำพาสู่การทำความเข้าใจปัญหา ต่อด้วยการสืบค้นหาสาเหตุเพื่อเตรียมแก้ปัญหา พร้อมกันนั้นกำหนดเป้าหมายที่จะแก้ปัญญาให้แน่ชัด และเลือกเฟ้นวิธีปฏิบัติการแก้ไขสาเหตุของปัญหาโดยสอดคล้องกับจุดหมายที่ได้กำหนดไว้

การคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ 

              การคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ เป็นการคิดตามหลักการและความมุ่งหมายซึ่งเป็นกระบวนการคิดระดับปฏิบัติการเพื่อลงมือทำ โดยรู้และเข้าใจถึงหลักการและความมุ่งหมายของเรื่องนั้นให้ดำเนินไปตามจุดหมาย ไม่ทำให้การคิดนั้นกลายเป็นการปฏิบัติที่คลาดเคลื่อนจากเป้าหมาย
              ตัวอย่าง เมื่อจะลงมือทำงานใด ตรวจสอบตนเองให้ชัดเจน ว่า เข้าใจหลักการและความมุ่งหมายของงานนั้น แจ่มชัดดีแล้วหรือไม่ โดยใช้วิธีการตั้งคำถามว่า การทำสิ่งนี้เพื่ออะไร และเป็นไปตามความมุ่งหมายหรือไม่ เป็นต้น 
               การคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ เป็นการคิดทบทวนอยู่เสมอ ว่าสิ่งที่ลงมือกระทำมีความสัมพันธ์กับหลักการและความมุ่งหมายมที่ตั้งไว้หรือไม่


การคิดแบบคุณโทษและทางออก

               การคิดแบบคุณโทษและทางออก เป็นการคิดแบบมองให้ครบทั้งข้อดี ข้อเสีย และทางแก้ไขปัญหา ซึ่งวิธีคิดนี้ ช่วยให้มองสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง เน้นการเรียนรู้และยอมรับความจริง ตามสภาวะของสิ่งนั้นๆเป็นอยู่ ทุกแง่ทุกมุม
                วัตถุประสงค์ของการคิดแบบนี้ เพื่อให้รู้และเข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริง ทั้งด้านดี ด้านเสีย จุดอ่อน และจุดเเข็ง
                 วิธีคิดแบบนี้ จะช่วยเหลือให้คนที่ตื่นตูมและนิสัยเอนเอียงง่าย ได้รู้จักพิจารณาให้เห็นว่าสิ่งต่างๆ ย่อมมีส่วนดี ส่วนเสีย จุดอ่อน จุดแข็ง เป็นต้น ซึ่งในสิ่งแวดล้อมหนึ่ง อาจดีมาก แต่หากอยู่ในกรณีแวดล้อมหนึ่ง หรืออาจดีน้อยลง เมื่อได้รับรู้และยอมรับถึงข้อดี ข้อเสีย จุดอ่อน จุดแข็งเเล้ว จะช่วยให้เกิดความระมัดระวัง ป้องกันความเสียหายและสามารถหาสิ่งทดแทนให้ประโยชน์ที่ได้รับมีความสมบูรณ์มากขึ้น กล่าวได้ว่า การคิดแบบคุณโทษและทางออก จะช่วยให้มีสติ ความระมัดระวังรอบคอบในการพิจารณาสิ่งต่างๆอย่างรอบด้าน


 การคิดแบบรู้คุณค่าแท้ - คุณค่าเทียม 

                   การคิดแบบรู้คุณค่าแท้ - คุณค่าเทียม  เป็นวิธีการคิดแบบสกัดกั้นและบรรเทาความอยากอย่างตัณหา
                   วิธีคิดแบบนี้ใช้มากในชีวิตประจำวัน เพราะเกี่ยวข้องกับการอุปโภคและการบริโภคใช้สอยปัจจัยสี่ และวัสดุอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งเทคโนโลยีอันทันสมัย

ภาพที่ 3  คุณค่าแท้ - คุณค่าเทียม 
                                                       ที่มา:  dek-d.com
                
                  หลักการสำคัญของการคิดแบบนี้ ประสงค์ให้ีการพิจารณาว่า สิ่งที่ใช้ในชีวิตประจำวันนั้น มีคุณค่าความต้องการ แต่ควรรู้จักพิจารณาให้เห็นว่า
                  ก. คุณค่าแท้ เป็นประโยน์หรือคุณค่าของสิ่งที่สนองความต้องการของชีวิตโดยตรง ซึ่งนำมาใช้ในการแก้ปัญหา เพื่อประโยชน์สุขทั้งของตนเองและผู้อื่น คุณค่านี้อาศัยปัญญาเป็นเครื่องตีค่า เรียกว่าคุณค่าที่สนองปัญหา
                 ข. คุณค่าเทียม เป็นประโยชน์หรือคุณค่า ของสิ่งที่มนุษย์พกไว้ เพื่อปรยเปรอการสนองค่านิยมฟุ่มเฟื่อย เพื่อแสดงความมั่งคั่งของตน คุณค่านี้อาศัยตัณกาเป็นเครื่องตีค่า เรียกว่าคุณค่าที่สนองตัณหา
                  การคิดแบบรู้คุณค่าแท้ - คุณค่าเทียม มุ่งสร้างความเข้าใจและให้พิจารณาเลือกเสพคุณค่าที่แท้จริง เป็นประโยชน์ต่อชีวิต และคุณค่าแท้นี้ นอกจากกระเป็นประโยชน์แก่ชีวิตอย่างแท้จริงเเล้ว ยังเกื้อกูลต่อความเจริญงอกงามของกุศลธรรม เช่น ความมีสติ ทำให้พ้นจากความเป็นทาสของวัตถุ เป็นต้น

การคิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม
               
                การคิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม หรือเรียกว่า วิธีคิดแบบเร้ากุศล เป็นวิธีคิดแบบสกัดกั้น บรรเทาเเละขักเกลาตัณหา ส่งเสริมความเจริญงอกงามแห่งกุศลธรรมและสร้างเสริมสัมมาทิฐิ
               หลักการทั่วไปของวิธีคิดนี้ ได้แก่ ประสบการณ์ อันเป็นสิ่งที่ได้รับรู้เช่นเดียวกับผู้ที่มีการรับรู้ต่างกัน ทำให้มองและคิดนึกไปคนละอย่าง สุดแต่โครงส้รางตามแนวทางความเคยชินที่จิตใจของผู้นั้นสั่งสมไว้
               การคิดแบบนี้ เป็นการทำใจให้ตั้งต้นและชักนำความคิดให้ไปในทางที่ดีงามและเป็นประโยชน์ เพราะคิดวิธีนี้ ให้ความสำคัญในแง่ทำให้เกิดความคิดและการกระทำที่ดีงาม อันเป็นประโยชน์ ซึ่งช่วยแก้ไขนิสัยความเคยชินที่ไม่ดีงาม ของจิตใจที่ได้สั่งสมไว้แต่เดิม พร้อมกับสร้างนิสัยอันเป็นความเคยชินใหม่ที่ดีงามให้แก่จิตใจพร้อมไปเวลาเดียวกัน ตัวอย่าง เช่นการคิดถึงยามลำบาก ไม่มีเงินใช้จึงเกิดความสำนึกห่อเหี่ยวใจ และกลัวความลำบาก จึงทำให้เกิดความไม่ประมาท จึงใช้จ่ายอย่างประหยัด
              วิธีคิดแบบปลุกเร้าคุณธรรมนี้ จึงเป็นการส่งเสริมความเจริญงอกงามแห่งกุศลธรรม อันเป็นความดีงาม ซึ่งช่วยให้ปรับพฤติกรรมการคิดแบบเดิมที่ตั้งอยู่บนความประมาท มาให้กลับมีสติ เพื่อสร้างความตื่นตัวในการคิดและใฝ่ความดีงาม


การคิดแบบมีสติในขณะปัจจุบัน
   
                การคิดแบบมีสติในขณะปัจจุบันเป็นการคิดให้คงอารมณ์ความจริงไว้ในปัจจุบัน ซึ่งลักษณะการคิดที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนั้น เป็นการคิดที่อยู่ในแนวทางของปัญญา
                การคิดแบบนี้ เป็นการคิดที่สามารถรวมเอาเรื่องที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เรื่องที่ล่วงผ่านมาเเล้ว เเละเรื่องของกาลภายหน้า เข้ามาในการเป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น การคิดพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องในอดีต ถือเป็นการคิดที่นำมาใช้เป็นบทเรียน ก่อให้เกิดความไม่ประมาทระมัดระวังป้องกันภัยในอนาคต เป็นต้น
               คำว่าปัจจุบันในความหมายนี้ เป็นความหมายกับสิ่งที่เกี่ยวข้องในขณะนั้น เป็นสำคัญ ดังนั้นความเป็นปัจจุบัน ถือกำหนดเอาที่ความเกี่ยวข้อง ต้องรู้ ต้องทำเป็นสำคัญ รวมทั้งสิ่งที่เป็นปัจจุบันคลุมถึงเรื่องราวที่เชื่อมโยงต่อกันมา
              วิธีการคิดแบบมีสติในปัจจุบันขณะ จะช่วยแบ่งแยกความคิดเรื่องในอดีตและอนาคตที่เพ้อฝันเลื่อนลอย ให้มีขีดจำกัดระหว่างกัน ช่วยให้แยกความคิดที่เป็นอดีต อนาคตออกไปได้ แต่ทั้งนั้นมิได้หมายความว่า ได้ต้องนำสิ่งเหล่านั้นมาคิด เพียงแต่นำมาคิดได้ด้วยความรู้สึกตัวในปัจจุบันขณะ
              การคิดถูกวิธีแบบนี้ จะช่วยให้เกิดประโยชน์เพื่อปฏิบัติในทางปัจจุบันให้ถูกต้องได้ผลดียิ่งขึ้น อันเป็นการสนับสนุนให้มีการเตรียมการณ์และวางแผนกิจกรรมต่างๆล่วงหน้าได้

การคิดแบบแจกแจงละเอียด
     
              การคิดแบบแจกแจงละเอียด เป็นการคิดที่แสดงออกมาเป็นการพูดและกระทำโดยจำเเนก แจกแจง เพื่อมองและแสดงความจริง ให้เห็นแต่ละเเง่มุมแต่ละด้านให้ครบถ้วน ไม่ใช่จับบางแง่มุมมาวินิจฉัยแล้วตัดสิน เหมือนตาบอดคลำช้าง
              วิธีการคิดแบบนี้ ทำให้ความคิดและการวินิจฉัยเรื่องราวต่างๆชัดเจนตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง เท่าความจริง พอดีกับควาามจริง
              การคิดแบบแจกแจงละเอียดนี้ เป็นการคิดเพื่อแยะแยะให้เห็นความเป็นจริงของสิ่งต่างๆ ทุกแง่มุม โดยไม่รีบตัดสินใจและวินิจฉัยเรื่องราวๆ ต่างโดยปราศจากความเป็นจริงในรอบด้าน

บทสรุปโยนิโสมนสิการ

              โยนิโสมนสิการเป็นกระบวนการคิดอย่างแยบยล ซึ่งโยนิโสมนสิการมี 10 วิธีการนี้ มีหลักการสำคัญว่า คิดถูกวิธี คิดมีหลักการ คิดอย่างมีเหตุผล และคิดปลุกเร้าคุณธรรมที่ดีงาม ซึ่งผู้ได้รับการฝึกฝนการคิดแบบโยนิโสมนสิการให้เกิดในอุปนิสัย ห่อมกลายเป็นผู้มีความสามารถทางการคิดที่มีฐานแห่งความดี หรือคิดเชิงจริยธรรม อันเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการคิดอย่างมีประสิทธิภาพและคิดอย่างดีงาม

การตัดสินใจ

               การตัดสินใจ เป็นกระบวนการทางความคิด ที่ต้องการบทสรุปว่า ต้องการเลือกกระบวนการหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหาในสิ่งที่ต้องการทำให้บรรลุเป้าหมาย
              การตัดสินใจ เป็นภารกิจทางปัญญา ในการให้คำตอบกับสิ่งที่จิตตอึดอัดหาคำตอบไม่ได้ โดยปัญญาจะเป็นผู้แสวงหาทางออก
              ลักษณะของการตัดสินใจ การตัดสินใจ จะเกิดขึ้นเมื่อแสดงให้เห็นการเลือก ที่จะกระทำสิ่งใดิ่งหนึ่ง เพื่อแก้ปัญหาหรือตอบคำถามที่มีได้ สิง่ที่บ่งชี้ว่ามีการตัดสินใจแเล้ว คือความรู้สึกสบายใจ โปร่งโล่ง สดใส และรู้สึกไม่วิตกกังวลกับสิ่งคิดลงมือกรทำ ซึ่งการตัดสินใจนั้น เป็นลักษณะการตัดสินใจที่ดี
              ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ประกอบด้วยข้อมูล ม้อเท็จจริง เงื่อนไขทางศิลธรรม ปัจจัยทางสังคมและปัจจัยทางสังคมและปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจำเป็นต้องใช้ประกอบการตัดสินใจอย่างรอบคอบ 

ภาพที่  4 การตัดสินใจเมื่อเกิดทางเลือก
                                                   ที่มา: Blogger.com


           กล่าวได้ว่า การตัดสินใจ เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการคิด เพื่อแสวงหาคำตอบในสิ่งที่ต้องการแก้ปัญหาหรือเกิดข้อสงสัย เมื่อพบทางออกหรือคำตอบแล้ว โดยใช้ปัญญาเป็นเครื่องมือตัดสินใจ ผลลัพธ์จะเกิดขึ้นตามมา ย่มปลดเปลี้องสิ่งที่พันธนาการทางจิตใจอันผูกพันอยู่กับความคิดนั้นให้ผ่อนปรนลง จนกลายเป็นสภาพที่ไร้ปัญกา อันก่อให้เกิดประสิทธิปลของการตัดสินใจ

บทสรุป

          การคิดจะประสบความสำเร็จ หรือมีสัมฤทธิผลนั้น จะต้องประกอบด้วยเงื่อนไขและเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง หากจะกล่าวว่า ไม่มีการคิดครั้งใด จะไม่มีองค์ประกอบอื่น กรือปัจจัยอื่นที่มีอิทธิพลต่อการคิดครั้งนั้น คงเป็นไปได้ยาก ฉะนั้นการคิดดี จึงเป็นการคิดที่ใช้ฐานความดีงาม คือหลักธรรมต่างๆ เช่น ศีลธรรม คุณธรรม หรือจริยธรรม และค่านิยมดีงาม รวมทั้งเหตุปัจจัยแห่งความดีงามอื่นด้วย
               เทคนิคการคิดเชิงจริยธรรม จึงเป็นการคิดโดยใช้ฐานแห่งความดี ไม่ว่าจะใช้วิธีการคิดแบบโยนิโสมนสิการ และการตัดสินใจอ่างถูกต้องดีงาม ย่อมแสดงให้เห็นว่าหลักธรรมย่อมมีอิทธิพลต่อการคิดและการตัดสิใจในชีวิตอย่างถูกต้อง
               การใช้ประโยชน์จากการคิดแต่ละครั้งให้เกิดคุณค่า ขึ้นอย่กับประสิทธิภาพของการคิดในแต่ละครั้ง นั่นคือการคิดครั้งนั้น มีเป้าหมายอย่างไร กระบวนการคิดย่อมเป็นไปตามเป้าหมายครั้งนั้นมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนการคิดและรู้จัก การคิดอย่างหลากหลาย เพื่อต้องการแก้ไขปัญหา และนำผลแห่งการคิดมาซึ่งการพัฒนาตน พัฒนางานและความก้าวหน้าในชีวิต
               คุณค่าและประโยชน์ของการคิดที่จะเกิดขึ้นจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อรู้ว่า การคิดมีผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างมาก สอดคล้องกับพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลเดช ได้พระราชทานเกี่ยวกับคุณค่าและประโยชน์ของความคิดว่า 

"สิ่งที่จะเกอดประโยชน์กับประเทศชาตินั้น 
ล้วนมาจากความคิด
หากคิดดี การกระทำก็จะดีตามที่คิด
การคิดจึงเป็นสิ่งเเรกที่มนุษย์ควรใส่ใจให้มาก
ทั้งก่อนพูดหรือทำการใดๆ"




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น